การศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ตรง และระยะก่อนมะเร็ง ของประชากรอายุ 50-70 ปี ในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ โตมณีพิทักษ์ โรงพยาบาลอุทัยธานี
  • จันทิมา นวะมะวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์
  • ธัญสินี พรหมประดิษฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, ระยะก่อนมะเร็ง, ปัจจัยเสี่ยง, การส่องกล้องลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และปัจจัยทำนายการเกิดโรคของประชากรอายุ 50-70 ปี ในพื้นที่อำเภอเมือง จ.อุทัยธานี

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุ 50-70 ปี ในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจากโรงพยาบาลอุทัยธานี ในระหว่างเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2566 จำนวน 68 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลอุทัยธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ และ Odd Ratio

ผลการศึกษา: อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงของประชาชนที่มีอายุ 50-70 ปี ในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจากโรงพยาบาลอุทัยธานีเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็งร้อยละ 88.9 และเป็นเนื้อร้ายร้อยละ 11.1 ปัจจัยทำนายการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95%CI และ p-value<.05 คือ การถ่ายอุจจาระมีมูกปนเลือด พบเป็นมะเร็ง 15.50 เท่าของคนปกติ (OR 15.50, 95%CI 1.75–136.97) คนที่มีอาการปวดบิดบริเวณท้องน้อยพบเป็นมะเร็ง 15.50 เท่าของคนปกติ (OR 15.50, 95%CI 1.75–136.97) การมีเลือดออกทางทวารหนักพบเป็นมะเร็ง 21.00 เท่าของคนปกติ (OR 21.00, 95%CI 2.80–157.41) มีการขับถ่ายอุจจาระท้องผูกสลับท้องเสียพบเป็นมะเร็ง 12.20 เท่าของคนปกติ (OR 12.20, 95%CI 1.25–119.63) น้ำหนักลดมากกว่า 5 กก.ภายใน 6 เดือน พบเป็นมะเร็ง 21.00 เท่าของคนปกติ (OR 21.00, 95%CI 1.25–119.63) เบื่ออาหารพบเป็นมะเร็ง 12.20 เท่าของคนปกติ (OR 12.20, 95%CI 125–119.63) และมีภาวะซีดไม่ทราบสาเหตุ พบเป็นมะเร็ง 64.96 เท่าของคนปกติ (OR 21.00, 95% CI 23.85–177.02)

สรุป: ปัจจัยทำนายที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ ที่มีอาการดังกล่าวเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เพื่อให้สามารถตรวจวินิจฉัยได้เร็วและได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรก ช่วยลดความรุนแรงของโรคและเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้

คำสำคัญ: มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, ระยะก่อนมะเร็ง, ปัจจัยเสี่ยง, การส่องกล้องลำไส้ใหญ่

เอกสารอ้างอิง

ภัคพงศ์ วัฒนโอฬาร. เจาะลึกโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ เมื่อ 12 มกราคม 2567].เข้าถึงได้จาก: https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/colon-cancer-treatment2

หน่วยงานเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ; 2564.

สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. ข้อควรรู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gastrothai.net/th/knowledge-detail.php?content_id=347

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทโฆสิตการพิมพ์ จำกัด, 2564.

กันต์กมล กิจตรงศิริ, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ยศ ตีระวัฒนานนท์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในระดับประชากร. [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2018/10/Full-report_CRC-screening.pdf

เสาวนีย์ ทานตะวิรยะ, พรเพ็ญ อัครวัชรางกูร โก, พิศิฐ อิสรชีววัฒน์, ชื่นฤทัย ยี่เขียน. ความตระหนักถึงโรคมะเร็งลำไส้ของประชาชนในประเทศไทย. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2566; 6(4): 284-291.

กัลยา ยิบประดิษฐ์, น้ำฝน วชิรัตนพงษ์เมธี, จินตนา ทองเพชร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชากร เขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2567; 4(2): 61-72.

วี โรจนศิรประภา. ความแม่นยำของการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระโดยอาศัยปฏิกิริยาทางอิมมูโนเคมิคอล (Fecal Immunochemical Test : FIT test) ในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2563; 37(1): 35-43.

National Cancer Institute. Colorectal Cancer Prevention (PDQ®)-Health Professional Version [online]; 2019. [cited 2024 Feb 28]; Available from: https://www.cancer.gov/types/colorectal/hp/colorectal-prevention-pdq.

มนตรี นาทประยุทธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2564; 36(1): 219-226.

Cho S, Shin A. Population attributable fraction of established modifiable risk factors on colorectal cancer in Korea. Cancer Research and Treatment. 2021; 53(2): 480-486.

Karahalios, A., English, D. R., & Simpson, J. A. Weight change and risk of colorectal cancer: A systematic review and meta-analysis. American Journal of Epidemiology. 2015; 181(11): 832-845.

Aniwan S, Rerknimitr R, Kongkam P, Wisedopas N, Ponuthai Y, Chaithongrat S, et al. A combination of clinical risk stratification and fecal immunochemical test results to prioritize colonoscopy screening in asymptomatic participants. Gastrointestinal Endoscopy. 2015; 81(3): 719-727.

World Cancer Research Fund & American Institute for Cancer Research.Diet, nutrition, physical activity, and colorectal cancer [Internet]. 2017. [cited 2024 Feb 28]; Available from: https://www.wcrf.org/wp-content/uploads/2021/02/Colorectal-cancer-report.pdf.

รัชดา แก้วอินชัย, น้าอ้อย ภักดีวงศ์. ปัจจัยทำนายการตรวจพบเลือดแฝงในอุจจาระและการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบน. APHEIT Journal of Nursing and Health. 2562; 1(1): 18-32.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-16

วิธีการอ้างอิง

โตมณีพิทักษ์ สุภาภรณ์, นวะมะวัฒน์ จันทิมา, และ พรหมประดิษฐ ธัญสินี. 2024. “การศึกษาปัจจัยทำนายการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ตรง และระยะก่อนมะเร็ง ของประชากรอายุ 50-70 ปี ในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (3). Nakhonsawan Thailand. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15526.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)