ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล
คำสำคัญ:
ภาวะสมองขาดเลือด, ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง, ผู้ดูแลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล
วิธีการศึกษา: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนของการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โดยทำการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2) พัฒนารูปแบบการให้ความรู้แบบมีส่วนร่วมในการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล โดยนำข้อมูลจากระยะที่ 1 และจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ ระยะที่ 3 และ4) ทดลองใช้รูปแบบฯและการประเมินผล โดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น และประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการให้ความรู้ฯ โดยใช้แบบประเมินความรู้ฯ วัดก่อนและหลังการได้รับรูปแบบการให้ความรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและ ผู้ดูแล จำนวน 30 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ ดำเนินระหว่างเดือนกันยายน 2566 ถึงมิถุนายน 2567
ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 ปัญหาและความต้องการของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล พบว่า ผู้ป่วยไม่ทราบอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด ปัญหาความต้องการของผู้ดูแล พบว่า การสังเกตอาการของภาวะสมองขาดเลือด ระยะที่ 2 รูปแบบการให้ความรู้ฯ มี 4 องค์ประกอบคือการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองและดูแล การสะท้อนความคิด และการสรุปความคิดรวบยอด ระยะที่ 3 และ4 การทดลองใช้และการประเมินผล พบว่า ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ภายหลังได้รับรูปแบบการให้ความรู้ฯผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ฯเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05
สรุป: รูปแบบการให้ความรู้ฯ เป็นรูปแบบที่ใช้การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเอง
คำสำคัญ: ภาวะสมองขาดเลือด, ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง, ผู้ดูแล
เอกสารอ้างอิง
Lyden PD. Thrombolytic therapy for acute ischemic stroke is a very great honor. American Heart Association 2019; 50(9): 2597-2603.
ตัวชี้วัด Service Plan โรคหลอดเลือดสมอง. (ออนไลน์เข้าถึง วันที่ 12 ตุลาคม 2566) เข้าถึงได้จาก https://spbo3.moph.go.th/cockpit/sp/main/stroke.php
สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์ โรคหลอดเลือดสมอง.วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564, 37(4), 54 – 60.
อเนกพงศ์ ฮ้อยคํา ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล และวิริณธิ์ กิตติพิชัย. ปัจจัยทำนายการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563, 14(2), 82-92.
อัตราป่วยรายใหม่ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในปีงบประมาณ 2565. (ออนไลน์เข้าถึง วันที่ 12 ตุลาคม 2566) เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.
อังคณา อ่อนธานี. ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการทำงานและอาชีพสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2564, 23(2), 336 – 349.
Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavior Sciences. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associate: 1988.
เสงี่ยม จิ๋วประดิษฐ์กุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองและความสามารถในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโพธาวาส. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2563 ,3(1), 15 – 30.
เรียมใจ พลเวียง และมิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง. การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. 2565, 31(1), 26 - 35 .
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.