ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความเครียดของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ภัทร์สรรพ์พร ศรีวรรณ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, ความเครียด, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความเครียดของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต

วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวในบุคลากรที่ปฏิบัติงานศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต เมื่อประเมินด้วยแบบประเมินตรวจเช็คสุขภาพใจ (Mental health check in) ของกรมสุขภาพจิต กลุ่มทดลอง 35 ราย ได้รับการดูแลในระบบปกติร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต วัดผลก่อนและหลังการทดลอง 1 เดือน ด้วยแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และแบบประเมินความเครียด (ST5) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตมีค่าเฉลี่ย (M = 176.5, SD = 2.7) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 86.6, SD = 3.4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 89.9, p-value<.05) และค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตมีค่าเฉลี่ย (M = 2.5, SD = 1.2) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (M = 8.2, SD = 0.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.76, p-value<.05)

สรุป: โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตสามารถส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและลดความเครียดของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิตได้

คำสำคัญ: สุขภาพจิต, ความเครียด, ความรอบรู้

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพ: บริษัท ละม่อม จำกัด.

Lerksirinukul P. เจาะลึกผลวิจัยอนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576 เตรียมรับการระเบิดของความหวาดกลัวกับความโดดเดี่ยว [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://techsauce.co/report/futures-of-mental-health-in-thailand-2033

Hfocus. เจาะลึกระบบสุขภาพ. ภาวะสังคมไทย 2565 ป่วยซึมเศร้าพุ่งสูง แนวโน้มวัยรุ่น-วัยทำงานฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2023/03/ 27358

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, อธิบ ตันอารีย์, บังอร สุปรีดา. แนวโน้มและปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตคนไทย: การสำรวจระดับชาติ ปี พ.ศ. 2561. ว.สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563;28:121-135.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

Jorm AF. Mental health literacy: Public knowledge and beliefs about mental disorders. British Journal of Psychiatry 2000; 177:396-401.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. ตรวจสุขภาพใจ Mental Health Check In [อินเติอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://checkin.dmh.go.th/

วัชรินทร์ เสาะเห็ม, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2563;13:44-55.

กัญญาวีณ์ โมกขาว, วัชรินทร์ ช่างประดับ, วลัยนารี พรมลา. อิทธิพลของจิตวิทยาเชิงบวก ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ต่อความสามารถในการดูแลตนเองด้านจิตใจของประชาชนในตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ว.กองกาพยาบาล 2563;47:57-70.

Kim, Y., Lee, H. Y., Lee, M., Simms, T., & Park, B. (2017). Mental health literacy in korean older adults: A cross-sectional survey. Journal of psychiatric and mental health nursing, 24(7), 523-533.

วชิรา โพธิ์ใส, เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม่เวชสาร 2564;60:63-74.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. 4th ed. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด (ST5). กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-09-16

วิธีการอ้างอิง

ศรีวรรณ ภัทร์สรรพ์พร. 2024. “ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความเครียดของบุคลากรกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (3). Nakhonsawan Thailand:193-201. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15605.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)