ผลของกระบวนการประสานรายการยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Effect of Medication Reconciliation in Medicine Ward at Sawanpracharak Hospital
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลของกระบวนการประสานรายการยา (medication reconciliation) และป้องกันแก้ไขความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error) ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
สถานที่ศึกษา : หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง และวัณโรค ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง
30 มิถุนายน 2560
วิธีการศึกษา : ขั้นตอนกระบวนการประสานรายการยาประกอบด้วย การทวนสอบ (verification) คือ การรวบรวมประวัติการใช้ยาของผู้ป่วย หลังจากนั้นทำการตรวจสอบ (clarification) คือ การทบทวนความถูกต้องของรายการยาที่รวบรวมได้จากแหล่งต่างๆ เปรียบเทียบรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับใหม่กับรายการยาที่ผู้ป่วยใช้ก่อนรักษาตัวในโรงพยาบาล และจำเป็นต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง (reconciliation) กรณีพบความแตกต่าง เภสัชกรจะประสานงานกับแพทย์เพื่อให้ทราบว่ารายการยาที่แตกต่างเป็นความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาหรือไม่ หรือเป็นความตั้งใจของแพทย์ ถ้าเป็นความคลาดเคลื่อนทางยา เภสัชกรจะประสานกับแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมระบุเหตุผลเมื่อแพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล เภสัชกรจะส่งต่อข้อมูลรายการยา (transmission) โดยเปรียบเทียบรายการยาทั้งหมดของผู้ป่วยก่อนรักษา ระหว่างรักษา และยาที่แพทย์สั่งจ่ายกลับบ้าน หากพบความแตกต่าง ประสานกับแพทย์ พร้อมระบุเหตุผลและพิมพ์ใบส่งต่อประวัติการใช้ยาในโรงพยาบาลเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนออัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนชนิดต่างๆ จากการสั่งใช้ยา ในขั้นตอนการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และในขั้นตอนจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การวิจัยจำนวน 482 คน ในขั้นตอนการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล พบความคลาดเคลื่อนทางยา 58 คน คิดเป็น ร้อยละ 12.0 ส่วนใหญ่พบปัญหาผู้ป่วยไม่ได้รับยาเดิมที่สมควรจะได้รับ (omission error) ในผู้ป่วย 45 คน คิดเป็น ร้อยละ 77.6 ในขั้นตอนการจำหน่ายพบความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วย 86 คน คิดเป็น ร้อยละ 17.8 ส่วนใหญ่พบปัญหาผู้ป่วยไม่ได้รับยาเดิมที่ควรได้รับ (omission error) ในผู้ป่วย 69 คน คิดเป็น ร้อยละ 80.2 ความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบสามารถป้องกันและแก้ไขได้ทั้งหมด ร้อยละ 100 โดยการประสานงานกับแพทย์ และสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาให้โรงพยาบาลได้ 33,585 บาท
วิจารณ์และสรุป : กระบวนการ medication reconciliation เป็นระบบงานที่สามารถสร้างความปลอดภัยให้ผู้ป่วยและลดความคลาดเคลื่อนทางยาได้
คำสำคัญ : กระบวนการประสานรายการยา ความคลาดเคลื่อนทางยา
Abstract
Objective : To evaluated effect of medication reconciliation, protected and
resolved medication error in Sawanpracharak Hospital.
Setting : Female medicine ward 2, Sawanpracharak hospital.
Research design : Prospective descriptive study
Samples : Patients with chronic disease such as heart disease, hypertension, diabetes hyperlipidemia, asthma, COPD, chronic kidney disease and tuberculosis admitted during 1 January to 30 June 2017.
Methods : Medication reconciliation consists of firstly, the verification process of past medical history (PMH) collecting, secondly clarification process to find out whether the previous and present medicine were the same if there were any differences from the list pharmacist would notify doctor in charge and lastly the process of transmission – to give out medicine to patients after the doctor confirmed. Then, all data were analized in the rate of medication errors by the Pharmacist when admitted and discharged.
Results : 58 from 482 patients or 12% were found medication errors during
admission. Omission errors were found over 77.6%. 86 patients or 7.8% had medication errors when discharged and omission errors werefound more than 80.20%. Medication errors can be prevented and resolved 100% by pharmacist and can save medication cost 33,585 Bath.
Summary and Discussion : Medication reconciliation can prove patient’s safety and
reduce medication errors.
Key word : Medication reconciliation, Medication errors