การเปรียบเทียบความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปากมดลูก ของผู้ป่วย ASC โดยการตรวจคัดกรองด้วยวิธี Pap smear : The comparison of risk to develop a cervical carcinoma in the patients with ASC previously detected by the Pap smear
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกของผู้ป่วยที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear เป็น ASC-H และ ASC-US
สถานที่ศึกษา : กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : Diagnostic prediction research
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยที่ผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear เป็น ASC-H และ ASC-US ในปี 2555-2557 โดยเป็นผู้ป่วยกลุ่ม ASC-H 78 คน และกลุ่ม ASC-US 175 คน
วิธีการศึกษา : บันทึกข้อมูลพื้นฐานและผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาซึ่งอ่านผลเป็น normal, LSIL, HSIL, และ carcinoma เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานในกลุ่ม ASC-H และ ASC-US ด้วยสถิติ Exact probability test, Student’s t-test หรือ median test วิเคราะห์โอกาสเสี่ยงการเป็นมะเร็งปากมดลูกด้วย Polytomous logistic regression analysis เพื่อปรับอิทธิพลของอายุ จำนวนบุตร และวิธีการคุมกำเนิด กำหนดนัยสำคัญที่ p<0.05
ผลการศึกษา : การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear มีผลเป็น ASC-US ร้อยละ 1.3 และ ASC-H ร้อยละ 0.3 ผู้ป่วยกลุ่ม ASC-H มีอายุมากกว่า (49.4±9.7 vs 45.3±9.7, p=0.002) มีโอกาสเสี่ยงเป็นระยะก่อนมะเร็ง (HSIL) 27.99 เท่า (95%CI 9.29-84.39, p<0.001) และมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก (cervical carcinoma) 14.01 เท่า (95%CI 0.95-206.48, p=0.054) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่ม ASC-US
วิจารณ์และสรุป : ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจ Pap smear เป็นชนิด ASC-H มีโอกาสเสี่ยงเป็นระยะก่อนมะเร็งและมะเร็งปากมดลูกสูง ควรได้รับการตรวจติดตามและยืนยันการวินิจฉัยให้เร็วขึ้น
คำสำคัญ : Pap smear, ASC, ASC-H, ASC-US, มะเร็งปากมดลูก
Abstract
Objective : To study the risk developing a cervical carcinoma in patients with ASC-H and ASC-US previously detected by the Pap smear.
Setting : Department of Anatomical Pathology, Sawanpracharak Hospital
Design : Diagnostic prediction research
Subjects : The patients with ASC-H (n=78) and ASC-US (n=175) were previously detected by the Pap smear between 2012 to 2014.
Method : All patients were recorded for the baseline characteristics and pathologic results of cervical tissue which could be normal, LSIL, HSIL and carcinoma. The comparison of patients’ baseline characteristics between ASC-H and ASC-US groups were performed by Exact probability test, Student’s t-test or median test. The risk factor for developing cervical carcinoma was analyzed by polytomous logistic regression analysis which the influences of age, parity and contraception were adjusted. P-value of less than 0.05 was considered statistically significant.
Results : The screening test of cervical carcinoma by Pap smear, the results were ASC-US (1.3%) and ASC-H (0.3%). The patients with ASC-H had the median age higher than (49.4± 9.7 vs 45.3± 9.7, p=0.002), risk to develop HSIL 27.99 times (95%CI 9.29-84.39, p<0.001) and risk to develop cervical carcinoma 14.01 times (95%CI 0.95-206.48, p=0.054), comparing to the patients with ASC-US.
Conclusion : The patients with ASC-H previously detected by Pap smear had a high risk to develop HSIL and cervical carcinoma, which should be immediately examined and followed to confirm the diagnosis.
Key words : Pap smear, ASC, ASC-H, ASC-US, cervical carcinoma