ประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน โดยใช้ระบบคะแนน Alvarado score โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ : Efficiency of Alvarado Score to Diagnosis of Acute Appendicitis Ao - luk Hospital Krabi Province
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน โดยใช้ Alvarado score
สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่
รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study)
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและให้การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่โรงพยาบาลอ่าวลึกแล้วส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลกระบี่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน2560 จำนวน 146 คน
วิธีการศึกษา : ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย และคำนวณค่า Alvarado score โดยค่า Alvarado score ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 7 ถือเป็นผลบวก เปรียบเทียบกับผลบันทึกสิ่งที่ตรวจพบจากการผ่าตัด ผลตรวจทางพยาธิ และการวินิจฉัยโรคครั้งสุดท้าย
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ 109 คน มีค่า Alvarado score ตั้งแต่ 7 - 10 ร้อยละ 77.1ส่วนในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ มีค่า Alvarado score ตั้งแต่ 7 - 10 ร้อยละ 29.7ค่า Alvarado score ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 7 มีค่าความไวร้อยละ 79.0 ความจำเพาะร้อยละ 69.0 การทำนายผลบวกร้อยละ 89.0 การทำนายผลลบร้อยละ 57.0 และค่าLikelihood ratio ร้อยละ 65.0
วิจารณ์และสรุป : ค่า Alvarado score ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 7 มีค่าความไว และการทำนายผลบวก ในระดับสูงในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน และสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่มาด้วยปวดท้องน้อยด้านขวา และสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้
คำสำคัญ : ระบบคะแนน Alvarado score, ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน
Abstract
Objective : To study the efficiency of Alvarado score for diagnosis of acute appendicitis Ao-luk hospital Krabi province.
Setting : 146 patients who were pre - diagnosed for appendicitis at Ao - luk hospital and referred to Krabi hospital and got surgery during 1 December 2016 to 30 September 2017
Design : A retrospective descriptive study
Method : Medical records and computed Alvarado score. Regardingd as the positive result in case of Alvarado score equals or more than 7 in comparison to the result of operative finding and histopathology.
Results : 109 patients with Alvarado score 7 – 10, 77.1% had appendectomy, whereas the other 37 patient at the same score, 29.7% did not have appendectomy. Alvarado score at 7 or more had sensitivity 79.0%, specificity 69.0%, positive predictive value 89.0%, negative predictive value 57.0% and likelihood ratio at 65.0% respectively.
Conclusion : Alvarado score at 7 or more had high sensitivity, positive predictive value. It was suggested to use the score for the preliminary non-invasive.
Key Words : Alvarado score, acute appendicitis