ภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังสำหรับการผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Complication of spinal anesthesia in hip surgery in Sawanpracharak Hospital
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
สถานที่ศึกษา : ห้องผ่าตัดชั้น 2 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research)
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยทุกคนที่มารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบนัดล่วงหน้าและได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 จนถึงเดือนธันวาคม 2558 จำนวน 170 คน
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลจากใบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึกและแบบบันทึกการพยาบาลผู้ป่วยในนำเสนอเป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 74.5 ± 8.5 ปี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.8 เป็น ASA classification class III ร้อยละ 65.9 ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัดที่พบมากที่สุดคือภาวะความดันโลหิตต่ำ ร้อยละ 61.8 โดยพบว่าโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเพิ่มมากขึ้นเมื่อระดับความสูงของยาชาเพิ่มขึ้นพบภาวะลมหายใจพร่อง (hypoventilation) ร้อยละ 7.6 อาการคลื่นไส้อาเจียนร้อยละ 4.7 และภาวะหัวใจเต้นช้า ร้อยละ 0.6 หลังผ่าตัดพบมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 21.2 ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดหลังผ่าตัดในกลุ่มที่ได้รับ morphineร่วมกับการฉีดยาชาคือ 6.52 ± 2.7 ชั่วโมง กลุ่มที่ได้รับยาชาเพียงอย่างเดียวคือ 4.92 ± 2.2 ชั่วโมงและยาแก้ปวดที่ได้รับส่วนใหญ่คือ Tramadol ร้อยละ 60.0 จำนวนวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจะนานขึ้นในผู้ป่วยที่มี ASA classification class สูง คือ ASA class IV 17.0 ± 4.2 วัน ASA class III 14.5 ± 7.1 วัน และ ASA class II 12.9 ± 4.8 วัน
สรุป : ภาวะแทรกซ้อนหลังการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังระหว่างผ่าตัดที่พบได้บ่อยที่สุดคือภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยสัมพันธ์กับระดับความสูงของยาชา ซึ่งจะได้สร้างแนวทางป้องกันที่เหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ : ภาวะแทรกซ้อน, การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง, ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
Abstract:
Objective : To study complication of spinal anesthetic in total hip arthroplasty in Sawanpracharak Hospital.
Setting : 2nd Floor Operating Room, Sawanpracharak Hospital.
Design : Descriptive research.
Subjects : 170 Patients in Sawanpracharak Hospital who had total hip arthroplasty operating during January1, 2014 - December 31, 2015.
Method : Through review of anesthetic record and nurse’s note of operating cases. Presented as frequency, percentage, mean and standard deviation.
Results : There were 170 patients, average age 74.5 ± 8.5 years old, mostly female 71.8% and ASA classification class 3 up 65.9%. The most common complications were hypotension 61.8%. Higher level of anesthesia would cause more incidence of hypotension and hypoventilation 16.7%. Intraoperative nausea vomiting was found 4.7% and post operative dementia 21.2%. Patients got spinal morphine required analgesic postoperative in average of 6.52 ± 2.7 hours. Patients received anesthetic alone required analgesic in 4.92 ± 2.2 hours. The most common analgesic use was tramadol (60%). Hospital length of stay was longer with higher ASA classification IV 17.0 ± 4.2 days, class III 14.5 ± 7.1 days and class II 12.9 ± 4.8 day respectively.
Conclusions : Common intraoperative complication was hypotension, related to level of spinal anesthesia, which may need to improve existing protection guideline.
Keyword : complication, spinal anesthesia, total hip arthroplasty