ผลการใช้ชุดคำสั่งยาสำเร็จรูปต่อมาตรฐานการรักษาด้วยยาในผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Impact of Pre - printed Order to Acute Myocardial Infarction Treatment Guideline in Sawanpracharak Hospital

Authors

  • Chantanee Chatwiriyawong
  • Janthakan Apisitsak
  • Nutt Nompannopas

Abstract

วัตถุประสงค์         :   เพื่อประเมินผลการใช้ชุดคำสั่งยาสำเร็จรูป (pre - printed order) ต่อการสั่งยาตามแนวเวชปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

สถานที่ศึกษา        :   โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการวิจัย     :   intervention study แบบ historical control

กลุ่มตัวอย่าง        :   ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันรายใหม่ ทั้งชนิด ST - elevation myocardial infarction (STEMI) และ non - ST- elevation myocardial infarction (NSTEMI) จำนวน 59 คน กลุ่มศึกษา หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2554 ถึง 31 มกราคม 2555 และมีการนำชุดคำสั่งสำเร็จรูปมาใช้ในการดูแล จำนวน 17 คน กลุ่มควบคุม หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2553 และยังไม่มีการใช้ชุดคำสั่งยาสำเร็จรูป จำนวน 42 คน

ผลการศึกษา         :   ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน หลังการใช้ pre - printed order พบอัตราการสั่งยาตามเกณฑ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การสั่งให้ beta blocker เมื่อ discharge สูงขึ้นจากร้อยละ 27.3 เป็นร้อยละ 87.5 (P=0.009) การสั่งให้ angiotensin converting enzyme inhibitor (ACEI)/angiotensin II receptor blocker (ARB) เมื่อ discharge สูงขึ้นจากร้อยละ 56.7 เป็นร้อยละ 91.7 (P=0.036) และยังพบแนวโน้มที่สูงขึ้นของการสั่งให้ fibrinolytic agent สูงขึ้นจากร้อยละ 71.4 เป็นร้อยละ 100 การสั่งให้ aspirin เมื่อแรกรับ สูงขึ้นจากร้อยละ 73.9 เป็นร้อยละ 80.0 การสั่งให้ clopidogrel เมื่อ discharge สูงขึ้นจากร้อยละ 88.1 เป็นร้อยละ 100 และการสั่งให้ statin เมื่อ discharge สูงขึ้นจากร้อยละ 95.2 เป็นร้อยละ 100 แต่ทั้งนี้ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการสั่งให้ fibrinolytic agent ในเวลาที่เหมาะสม และ aspirin เมื่อ discharge มีการสั่งในอัตราร้อยละ 100 ทั้งก่อนและหลังการใช้ pre - printed order

วิจารณ์และสรุป     :   การใช้ preprinted order ช่วยเพิ่มอัตราการสั่งยาตามเกณฑ์มาตรฐานซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

คำสำคัญ             :   ชุดคำสั่งยาสำเร็จรูป มาตรฐานการรักษาด้วยยา โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 

Abstract

Objective          :   To Evaluate the impact of preprinted order for acute myocardial infarction treatment guideline in Sawanpracharak Hospital.

Setting              :   Sawanpracharak Hospital

Design              :   Intervention study (Historical control)

Subjects           :   59 diagnosed patients as acute myocardial infarction (new case) both ST - Elevation myocardial infarction (STEMI) and non - ST - Elevation myocardial infarction (NSTEMI) case. Study group: Patients admitted in Sawanpracharak Hospital during August 2011 to January 2012, using of pre - printed order 17 cases as control group: 42 patients admitted in Sawanpracharak Hospital during 1 October - 31 December 2010, Without using of preprinted order.

Method            :   To compare the order of doctor according to guideline of ACC/AHA 2008 Performance Measures for Adults with ST - Elevation and non - ST - Elevation Myocardial infarction between pre and post the use of pre - printed order in acute myocardial infarction patient (new case)

Results             :   Demographic data of patients are not different between the 2 groups. For pre - printed order using group, Doctor ordered Beta - Blocker increase in discharged patients (27.3% and 87.5%), Statistically, significant (P=0.009). Orders of Angiotensin II receptor blocker (ARB) increase in discharged patients. (56.7% and 91.7%, P=0.036). Orders of Fibrinolytic agent increased (71.4% and 100%). Orders of Aspirin once patients admitted increased (73.9% and 80%), Clopidogrel once discharging increased (88.1% and 100%) and statin when patients discharged increase (95.2% and 100%). The increasing percentage was not statistical significant. Orders of Fibrinolytic agent in appropriate time and Aspirin when patients discharged balanced of both pre and post of using pre - printed order (100% and 100%).

Conclusion        :   The use of Pre - printed order increased rate of using acute myocardial infarction treatment guideline. Efficacy of treatment on acute myocardial infarction patients was better.

Kew words        :   Pre - printed order, Treatment Guideline, Acute myocardial infarction

Downloads

Published

2018-05-02

How to Cite

Chatwiriyawong, Chantanee, Janthakan Apisitsak, and Nutt Nompannopas. 2018. “ผลการใช้ชุดคำสั่งยาสำเร็จรูปต่อมาตรฐานการรักษาด้วยยาในผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Impact of Pre - Printed Order to Acute Myocardial Infarction Treatment Guideline in Sawanpracharak Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 15 (1). Nakhonsawan Thailand:1-11. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/2510.

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)