แนวทางในการพัฒนาการเคลือบหลุมร่องฟันให้ยึดติดในฟันกรามแท้ซี่แรกของนักเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี : Guidelines for the development of sealant retention in the first molar teeth of elementary school students Uthai Thani province

Authors

  • Prapan Kanchanadusadee

Abstract

วัตถุประสงค์      :   เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยึดติดของการเคลือบหลุมร่องฟันและแนวทางในการพัฒนาเคลือบหลุมร่องฟันให้ยึดติดในฟันกราม
                          แท้ซี่แรกของนักเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี

สถานที่ศึกษา    :   โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี

รูปแบบการวิจัย  :   วิจัยเชิงผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

กลุ่มตัวอย่าง     :   ขั้นตอนที่ 1 เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดอุทัยธานีปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งหมดจำนวน 792 คนจาก 73
                         โรงเรียนที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันขั้นตอนที่ 2 เป็นทันตาภิบาล ผู้ให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันจำนวน 52 คนและขั้นตอน
                          ที่ 3 เป็นกลุ่มทันตบุคลากรกลุ่มคุณครูและกลุ่มภาคีเครือข่ายกลุ่มละ 10 คน

วิธีการศึกษา     :   ขั้นตอนที่ 1 ตรวจฟันเพื่อประเมินการยึดติดของเคลือบหลุมร่องฟันหลังทำ 6 เดือนและหาความสัมพันธ์ของการยึดติดกับ
                        อายุของนักเรียนการขึ้นของฟันและตำแหน่งของซี่ฟันโดยใช้สถิติทดสอบ Chi-Square ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์
                        ทันตาภิบาลแบบเจาะลึกเพื่อเก็บข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยึดติดได้แก่ประสบการณ์การทำงานเทคนิควิธีการและ
                        สิ่งแวดล้อมในการให้บริการขั้นตอนที่ 3 การสนทนากลุ่มกับกลุ่มทันตบุคลากร กลุ่มคุณครู และกลุ่มภาคีเครือข่ายโดย
                        นำผลขั้นตอนที่ 2 มาวิเคราะห์เนื้อหาและตีความเพื่อหาข้อสรุปให้ได้แนวทางในการพัฒนาเคลือบหลุมร่องฟันให้ยึด
                        ติดในฟันกรามแท้ซี่แรกของนักเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานีในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลชุมชน

ผลการศึกษา     :   การยึดติดของการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามแท้ซี่แรกในระยะเวลา 6 เดือนยึดติดสมบูรณ์ร้อยละ 54.9 หลุดบางส่วนร้อยละ 31.9
                        และหลุดหมดร้อยละ 13.2 ฟันด้านล่างมีการยึดติดมากกว่าฟันด้านบน (P=0.007) และฟันด้านขวามีการยึดติดมากกว่าฟันด้านซ้าย
                        (P<0.001) และได้แนวทางในการพัฒนาเคลือบหลุมร่องฟันให้ยึดติดในฟันกรามแท้ซี่แรกของนักเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
                        ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลชุมชน 10 ข้อ

วิจารณ์และสรุป :   อัตราการยึดติดของการเคลือบหลุมร่องฟันอยู่ในระดับต่ำตำแหน่งของซี่ฟันสัมพันธ์กับการยึดติดของเคลือบหลุมร่องฟันอย่างมีนัย
                        สำคัญทางสถิติเนื่องมาจาก ลักษณะทางกายวิภาคและเทคนิคการเคลือบหลุมร่องฟันควรมีการประเมินผลการยึดติดเป็นระยะทุก 6 
                        เดือนต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีและต้องนำแนวทางพัฒนาเคลือบหลุมร่องฟันให้ยึดติดดังกล่าวมาปฏิบัติและประเมินผลต่อไป

คำสำคัญ         :   การยึดติด, การเคลือบหลุมร่องฟัน, ฟันกรามแท้ซี่หนึ่ง, แนวทาง, จังหวัดอุทัยธานี

 

Abstract

Objective      :   To study the factors affect the retention of sealants and guidelines for the development of
                         sealant retention in the first molar teeth of elementary school students, Uthai Thani province.

Setting          :   Uthai Thani elementary school.

Design          :   Comprehensive research with both quantitative and qualitative.

Subjects        :   Step 1 is a grade 1 student in Uthai thani province. A total of 792 students from 73
                          schools received grooving sealants. The second is 52 dental nurses who provides the
                          sealant in the first molar teeth of the student and Step 3 is the dental group teacher group 
                          and network partner, each group has 10 members.

Method         :   Step 1: Examine the teeth to evaluate the retention of the sealant after 6 months and
                         determine the relationship of retention to student's age eruption of the teeth and position
                         of teeth using chi-square test statistics. Step 2: In-depth interview with dental nurses to collect
                         the factors that are associated with retention: experience, technique & method and service
                         environment. Step 3: Group discussion with the dental group teacher group and network 
                         partner that results of study were analyzed in order to find a conclusion for guidelines for
                         the development of sealant retention in the first molar teeth of elementary school
                         students, Uthai Thani province in sub-district health promotion and community hospitals.

Results          :   The sealant retention of first molar teeth in 6 months was 54.9%. Some 31.9% were partly
                          lost and 13.2% were completely lost. The lower teeth were more retention than the
                          upper teeth (P=0.007) and the right side teeth were more retention than the left side
                          teeth (P<0.001). The results of study were analyzed in order to find a guidelines
                          for the development of sealant retention in the first molar teeth of elementary school students,
                          Uthai Thani province in sub-district health promotion and community hospitals.

Conclusion    :   The sealant retention of first molar teeth in 6 months was low and tooth position was correlated
                         with sealant retention with statistically significant due to anatomy and technical results.
                         The researcher should  evaluate sealant retention every 6 month for at least 2 years and
                         evaluate the implementation of such guidelines.

Kew words     :   retention, sealant, first molar tooth, guideline, Uthai Thani

Downloads

Published

2018-07-16

How to Cite

Kanchanadusadee, Prapan. 2018. “แนวทางในการพัฒนาการเคลือบหลุมร่องฟันให้ยึดติดในฟันกรามแท้ซี่แรกของนักเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี : Guidelines for the Development of Sealant Retention in the First Molar Teeth of Elementary School Students Uthai Thani Province”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 15 (3). Nakhonsawan Thailand:57-70. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/4010.

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)