การผ่าตัดจี้หยุดหลอดเลือด sphenopalatine ผ่านกล้องเอ็นโดสโคป ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Endoscopic Sphenopalatine Artery Ligation in Sawanpracharak Hospital
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อรายงานผลการรักษาและผลข้างเคียง ของการผ่าตัดจี้หยุดหลอดเลือด sphenopalatineผ่านกล้องเอ็นโดสโคป ในผู้ป่วย
เลือดกำเดาไหลจากโพรงจมูกส่วนหลัง
สถานที่ศึกษา : แผนก โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบงานวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนา
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยเลือดกำเดาไหลจากโพรงจมูกส่วนหลังทุกคนที่ได้รับการผ่าตัดจี้หยุดหลอดเลือดsphenopalatine ผ่านกล้อง
เอ็นโดสโคป ระหว่างปี 2557 ถึง 2561 จำนวน 21 คน
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลังเกี่ยวกับ ข้อมูลที่สำคัญทางคลินิก ผลการผ่าตัด และผลข้างเคียง โดยนิยามผล
สำเร็จของการรักษา คือ ภาวะปราศจากเลือดกำเดาไหลซ้ำอย่างน้อย 7 วันหลังการผ่าตัด
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเป็นชาย ร้อยละ 66.7 ทุกคนเคยล้มเหลวจากการใส่วัสดุห้ามเลือดทางด้านหน้าหรือด้านหลัง เมื่อติดตามผล
สำเร็จของการรักษาพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 95.2 ไม่มีเลือดกำเดาไหลซ้ำ อย่างไรก็ตามพบผู้ป่วย 1 คน มีเลือดกำเดาไหล
ซ้ำซึ่งหายขาดเมื่อได้รับการผ่าตัดครั้งที่สอง ผลข้างเคียงพบอาการชาที่ฟันหน้า 1 คน และชาที่เพดานแข็งด้านเดียวกับ
การผ่าตัด 1 คนอาการของผู้ป่วยทั้งสองคนหายได้เองหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์
วิจารณ์และสรุป : การผ่าตัดจี้หยุดหลอดเลือด sphenopalatine ผ่านกล้องเอ็นโดสโคป ในผู้ป่วยเลือดกำเดาไหลจากโพรงจมูกส่วน
หลังในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัยมีผลสำเร็จสูง ในขณะที่มีผลข้างเคียงจากการผ่าตัด
ต่ำและสามารถหายได้เอง
คำสำคัญ : เลือดกำเดา, หลอดเลือดแดง, ผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป, การจี้หยุดเลือด, ภาวะแทรกซ้อน
Abstract
Objective : To report the success rate and complications of Endoscopic Sphenopalatine artery ligation (ESPAL)
in patients with posterior epistaxis
Setting : ENT department, Sawanpracharak Hospital
Design : Descriptive study
Subjects : 21 Patients with posterior epistaxis, underwent ESPAL at Sawanpracharak Hospital during July
2014-June 2018
Methods : Retrospective chart review was performed Demographic and other relevant clinical data including
success rate and complications were collected. The success was defined as complete cessation of
nose bleeding at least 7 days post-operatively.
Results : 66.7% was male. Every patient had failed either anterior or posterior nasal packing. ESPAL of 20
(95.2%) patients were categorized as success. One patient failed at first surgery; however,
the epistaxis was completely stopped with the second attempt. Two patients reported
postoperative complications. One patient was experienced front teeth numbness, the other was
reported numbness at ipsilateral hard palate. Their symptoms were resolved spontaneously within
2 weeks.
Conclusion : ESPAL in patients with posterior epistaxis at Sawanpracharak Hospital was highly success.
The complication rate was low and resolved spontaneously.
Keywords : epistaxis, sphenopalatine artery, endoscopesinus surgery, ligation, complication