การประยุกต์ใช้พารามิเตอร์ของเรติคิวโลไซต์เพื่อคัดกรองพาหะฮีโมโกลบินอี : The Application of Parameter in Reticulocyte for Hemoglobin E Screening
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อประยุกต์ใช้ค่าพารามิเตอร์ของเรติคิวโลไซต์ในการคัดกรองพาหะฮีโมโกลบินอี
สถานที่ศึกษา : กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงการวินิจฉัย
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้มารับบริการตรวจธาลัสซีเมียที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นพาหะฮีโมโกลบินอี 100 ราย และไม่เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี 200 ราย
วิธีการศึกษา : ตรวจหาปริมาณเรติคิวโลไซต์ ชนิด และปริมาณของฮีโมโกลบิน แล้วนำไปเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติ t-test และหาค่าความไวและความจำเพาะโดยใช้ ROC curve กำหนดระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
ผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 300 ราย พบว่าพารามิเตอร์ของเรติคิวโลไซต์ในกลุ่มที่เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี กับกลุ่มที่ไม่เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการทดสอบประสิทธิภาพของพารามิเตอร์ของเรติคิวโลไซต์ในการแยกคนที่เป็นพาหะฮีโมโกลบินอีออกจากคนที่ไม่ได้เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี พบว่าพารามิเตอร์ Mean Reticulocyte Volume (MRV) ที่ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 99.5 และพารามิเตอร์ Standard deviation Conductivity Non Reticulocyte (SD-C-NR) ที่ค่ามากกว่า 29.4 เมื่อใช้ร่วมกันจะให้ค่าความไวและความจำเพาะร้อยละ 100
วิจารณ์และสรุป : พารามิเตอร์ของเรติคิวโลไซต์สามารถใช้คัดกรองพาหะฮีโมโกลบินอีได้ โดยใช้พารามิเตอร์ Mean Reticulocyte Volume (MRV) ที่ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 99.5 และพารามิเตอร์ Standard deviation Conductivity Non Reticulocyte (SD-C-NR) ที่ค่ามากกว่า 29.4 ซึ่งให้ค่าความไวและความจำเพาะสูงร้อยละ 100 การคัดกรองฮีโมโกลบินอีโดยการใช้พารามิเตอร์ของเรติคิวโลไซต์จึงเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญสูง และสามารถทำได้ในห้องปฏิบัติการทั่วๆไป
คำสำคัญ : ฮีโมโกลบินอี เรติคิวโลไซต์ เครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ
Abstract
Objective : To apply reticulocyte parameters for hemoglobin E screening
Setting : Department of Medical Technology, Sawanpracharak Hospital
Design : Diagnostic study
Subjects : Of 300 subjects who attended thalassemia clinic at Sawanpracharak Hospital, 100 samples from Hemoglobin E carrier and 200 samples from non-Hemoglobin E carrier.
Methods : All samples were analyzed by hematology analyzer and capillary electrophoresis based Hemoglobin analyzer. The reticulocyte parameters from each group were analyzed and compared (t-test).
Results : In analyzing reticulocyte parameter between Hb E carrier and non-Hb E carrier, mean MRV and SD-C-NR were significantly different. Determination of appropriate cut off using ROC curve analysis revealed that level of MRV≤ 99.50 and SD-C-NR >29.40 were the best cut off in predicting the Hemoglobin E carrier with high sensitivity and specificity of 100%
Conclusion : Reticulocyte parameter can be used discriminate between Hemoglobin E carrier and Non-carrier. The level of MRV≤ 99.50 and SD-C-NR>29.40 were the best cut off for Hemoglobin E screening with high sensitivity and specificity. It is simple to apply reticulocyte parameters for hemoglobin E screening without requirement of any special technique and is recommended to use in general laboratory.
Key words : Hemoglobin E, Reticulocyte, Automate hematology analyzer