ประสิทธิภาพของ Fast Tracks Hub System ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน : Efficiency of the Fast Tracks Hub System In Treatment Acute Stroke Patients
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ Fast Tracks Hub System ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke)
สถานที่ศึกษา : แผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงเปรียบเทียบแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study)
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทุกคนที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ก่อนการใช้ Fast Tracks Hub System จำนวน 2,531 คน และหลังการใช้ Fast Tracks Hub System จำนวน 3,420 คน
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ลักษณะการดำเนินโรค อาการที่มา การวินิจฉัยขั้นตอน ระยะเวลาการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา แสดงค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด สูงสุด และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วยสถิติ Chi square test และ Mann Whitney U test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ P value น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และสาเหตุหลักคือโรคหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ Fast Tracks Hub System พบว่าผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวัง early detection วินิจฉัย acute stroke เพิ่มขึ้น ระยะเวลาการตรวจ CT brain ตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลลดลง ผู้ป่วยได้รับการตรวจ investigation เบื้องต้นเพิ่มขึ้น ระยะเวลาในการตรวจเลือดลดลง และผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้น (primary resuscitation) ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นทุกราย ซึ่งแตกต่างกับก่อนใช้ Fast Tracks Hub System อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) รวมทั้งพบว่าจำนวนผู้ป่วยได้ยาละลายลิ่มเลือดมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น
วิจารณ์และสรุป : การใช้ Fast Tracks Hub System ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน เจ้าหน้าที่มีการตระหนักให้ความสำคัญเฝ้าระวังมากขึ้น ขั้นตอนการดูแลรักษารวดเร็วครบถ้วนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินโรคอื่นๆ ต่อไป
คำสำคัญ : โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน Acute stroke fast track, Fast Tracks Hub System ประสิทธิภาพ
Abstract
Objective : To study the efficiency of the Fast Tracks Hub System in treatment of acute stroke patients.
Setting : Department of Emergency, Sawanpracharak Hospital.
Design : Retrospective cohort study
Subjects : All acute stroke patients admitted to Sawanpracharak Hospital, 2,531 people before using Fast Tracks Hub System and 3,420 people after using the Fast Tracks Hub System.
Method : From medical admission records, demographic data patient, characteristics of disease, diagnosis, and treatment were reviewed and analyzed by descriptive statistics. The efficiency of Fast Tracks Hub System were compared before and after using. The frequency, percentage, median value, minimum and maximum were presented. Evaluated the correlation of and Mann Whitney U test. Determine the statistical significance when P value is less than 0.05.
Results : Most acute stroke patients were male. The main cause was ischemic stroke. To compare the efficiency of Fast Tracks Hub System; early detection of acute stroke increased, time door to CT interpretation decreased, rate of complete primary investigation increased, time door to primary investigation and decreased appropriate primary resuscitation significantly increase (p<0.001). After using Fast Tracks Hub System, number of patients receiving thrombolytic drug were increased and the process of treatment is faster.
Conclusion : The Fast Tracks Hub System can improve the treatment efficiency of patients with acute stroke. However, the system will continuously developed for more efficacy to apply on other FAST Tracks.
Key words : Acute stroke, Acute ischemic stroke, Acute Stroke Fast Track, Fast Tracks Hub System, Efficiency.