การรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่อยู่ในโรงพยาบาล; Non-Beneficial Treatments in Hospitalized Advance Stage Cancer Patients
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษารูปแบบการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่อยู่ในโรง พยาบาลต่อการดูแลแบบประคับประคอง การวางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้าและการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์
สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามทุกคนที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ระหว่าง ตุลาคม 2560 ถึง มีนาคม 2561 จำนวน 110 คน
วิธีการศึกษา : ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก โดยเก็บข้อมูล การวินิจฉัยโรค มะเร็ง การปรึกษาทีมการดูแลแบบประคับประคอง การวางแผนการดูแลตนเองก่อนเสียชีวิต การใส่ท่อช่วยหายใจ การใช้เครื่องช่วยหายใจ และการกู้ชีพ
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่เสียชีวิตได้รับการปรึกษาทีมการดูแลแบบประคับประคองและได้ วางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้า ร้อยละ 20.9 พบการรักษาที่ไม่เกิด ประโยชน์ คือ มีอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 43.6 และมีอัตราการกู้ชีพ ร้อยละ 7.3 ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการปรึกษาทีมการดูแลแบบประคับประคองและไม่ได้วางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้าได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 78.6ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการปรึกษาทีมการดูแลแบบประคับประคองหรือได้วางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้าได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ร้อยละ 7.4 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR 10.6, 95% CI 4.1-27.5, P=0.001) และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการปรึกษาทีมการดูแลแบบประคับประคองและไม่ได้วางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้าได้รับการกู้ชีพ ร้อยละ 14.3 ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการปรึกษาทีมการดูแลแบบประคับประคองหรือได้วางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้าได้รับการกู้ชีพ ร้อยละ 0 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.003)
วิจารณ์และสรุป : ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบประคับประคองและการวางแผนดูแลตัวเองล่วง หน้าในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับการศึกษาอื่นอาจเนื่องจากหน่วยการดูแล แบบประคับประคองเพิ่งเริ่มก่อตั้งได้ไม่นาน และแพทย์ยังตระหนักในการดูแลแบบประคับประคองและการวางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้าค่อนข้างน้อย แต่พบว่า การปรึกษาทีมการดูแลแบบประคับประคองและการวางแผน การดูแลตนเองล่วงหน้าเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงการได้รับการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ได้
คำสำคัญ : ดูแลแบบประคับประคอง วางแผนการดูแลตนเองล่วงหน้า ท่อช่วยหายใจ
การกู้ชีพ มะเร็งระยะลุกลาม
Abstract
Objective : To study patterns of death and non beneficial treatment in hospitalized advance stage of cancer patients who received palliative care and advance caring plan.
Setting : Sawanpracharak hospital
Design : Descriptive study
Subjects : 100 advance stage of cancer patients died at sawanpracharak hospital during October 2017 - March 2018
Method : Data were collected from medical records – cancer type, palliative care consulting team, making care plan, Endotracheal tube intubation with mechanical ventilator (MV) and cardiopulmonary resuscitation (CPR)
Results : There were 20.9% of advance stage cancer patients consulted palliative care team and doing advance care plan. 43.6%, 7% endotracheal tube intubation and CPR was done respectively. There was a statistical difference in ET tube insertion in palliative care consultation or advance care plan versus neither PC consultation nor ACP (78.6% vs 7.4%, RR 10.6, 95% CI 4.1-27.5, P=0.001) There was a statistical difference in CPR in palliative care consultation or advance care plan versus neither PC consultation nor ACP (14.3% vs 0%, P=0.003)
Conclusion : There was low incidence of palliative care consultationand doing advance care plan may be due to palliative care team has just begun and the physicians are also low aware of palliative care and advance care plan. However, Palliative care and advance care planning are factors that can reduce the risk of receiving unprofitable treatment in advance stage cancer patients
Keywords : Palliative care, Advance care plan, Endotracheal tube, Cardiopulmonary resuscitation, Advance stage cancer