อัตราชุกของภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก : เปรียบเทียบระหว่าง การประเมินด้วยสายตาแบบเดิมกับการใช้ถุงรองเลือด : Prevalence Rate of Early Postpartum Hemorrhage: A Comparison between Conventional Visual Estimation and Blood Collector Bag
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบอัตราชุกของภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกระหว่างการประเมินด้วยสายตาแบบเดิมกับการใช้ถุงรองเลือด
สถานที่ศึกษา : ห้องคลอด และแผนกหลังคลอด กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานี
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง
กลุ่มตัวอย่าง : สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทางช่องคลอดตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2557 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2559 จำนวน 1,474 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มศึกษาประเมินการสูญเสียเลือดโดยใช้ถุงรองเลือดจำนวน 737 คน และกลุ่มควบคุมประเมินการสูญเสียเลือดด้วยสายตาแบบเดิมจำนวน 737 คน
วิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลประวัติและบันทึกการคลอด เปรียบเทียบลักษณะพื้นฐานลักษณะทางสูติศาสตร์ และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก รวมทั้งอัตราชุกของภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกระหว่างสองกลุ่ม
ผลการศึกษา : ลักษณะพื้นฐาน ลักษณะทางสูติศาสตร์ และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม อัตราชุกของภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในกลุ่มประเมินโดยการใช้ถุงรองเลือดเท่ากับร้อยละ 4.9 และในกลุ่มประเมินด้วยสายตาเท่ากับร้อยละ 2.4 อัตราชุกของภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกที่ประเมินโดยการใช้ถุงรองเลือดมากกว่าการประเมินด้วยสายตาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR 2.00, 95% CI : 1.15-3.49, P< 0.009)
วิจารณ์และสรุป : ถุงรองเลือดมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกมากกว่าการประเมินด้วยสายตาจึงควรนำถุงรองเลือดมาใช้ในการดูแลผู้คลอดเพื่อเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก
คำสำคัญ : ภาวะตกเลือดหลังคลอด ประเมินด้วยสายตา ถุงรองเลือด
Abstract
Objective : To compare prevalence rate of early postpartum hemorrhage between conventional visual estimation and blood volume measurement by blood collector bag.
Setting : Labor room and postpartum unit in Obstetrics-Gynecology Department, Uthaithani Hospital.
Design : Retrospective cohort study.
Subjects : One thousand four hundred and seventy-four pregnant women underwent vaginal delivery at Uthaithani Hospital during March 2014 to February 2016 were included. The women were divided equally into two groups. In study group, bloodloss evaluation by blood collector bag, in control group by visual estimation.
Method : The data was collected from delivery and in patient records to comparison of baseline obstetric characteristics and risk factors for early postpartum hemorrhage and prevalence rate of early postpartum hemorrhage.
Results : The baseline obstetric characteristics and risk factors for early postpartum hemorrhage were similar in both groups. Prevalence rate of early postpartum hemorrhage was 4.9% inblood collector bag group and 2.4% in conventional visual estimation group. Prevalence rate of early postpartum hemorrhage collected via a blood collector bag was statistically significant more than the conventional visual estimation (RR 2.00, 95% CI : 1.15-3.49,P< 0.009)
Conclusion : The blood collector bag was more effective in diagnosis of early postpartum hemorrhage than visual estimation. This practice should be applied in routine delivery care to monitor early postpartum hemorrhage.
Key words : postpartum hemorrhage, visual estimation, blood collector bag.