แผลติดเชื้อที่กระจกตาที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ พ.ศ. 2555-2559 : Corneal Ulcer Leading to Admission at Sawanpracharak Hospital 2012-2016
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาจำนวน ลักษณะ และการรักษาผู้ป่วยแผลติดเชื้อที่กระจกตาที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
สถานที่ศึกษา : แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study)
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิก (clinical diagnosis) ว่าเป็นแผลติดเชื้อที่กระจกตาซึ่งต้องรักษาแบบผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 343 คน
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ประกอบด้วย เพศ อายุ อาชีพของผู้ป่วย ปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค เชื้อก่อโรค และวิธีการรักษา
ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยแผลติดเชื้อที่กระจกตาที่จำเป็นจะต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.2 มีอายุเฉลี่ย 51.7±19.49 ปี อาชีพที่พบมากที่สุดคือรับจ้าง ร้อยละ 47.8 รองลงมาคือเกษตรกร ร้อยละ 21.9 ปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคที่พบได้บ่อยคือการเกิดอุบัติเหตุจากสิ่งแปลกปลอมเข้าตา โดยเกิดจากหญ้า ใบไม้ หรือกิ่งไม้ทิ่มตา ร้อยละ 17.8 พบแบคทีเรียเป็นเชื้อก่อโรคมากกว่าเชื้อราจากทั้งการวินิจฉัยทางคลินิกและการเพาะเชื้อ โดยเชื้อที่พบมากที่สุดจากการเพาะเชื้อคือ Pseudomonas aeruginosa ผู้ป่วยทุกคนได้รับยาหยอดตาฆ่าเชื้อ มีร้อยละ 8.5 ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด และร้อยละ 5.8 ที่ต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลที่มีจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านกระจกตา
วิจารณ์และสรุป : การรณรงค์และให้ความรู้กับประชาชนให้ใส่แว่นตาป้องกันขณะทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เพศชาย ช่วงอายุ 41-70 ปี อาชีพรับจ้างและเกษตรกร อาจช่วยลดการเกิดแผลติดเชื้อที่กระจกตาที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยในได้ และอาจพิจารณาให้ยาที่คลอบคลุมเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ในระหว่างรอผลเพาะเชื้อ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาร่วมกับลักษณะทางคลินิกอื่นๆเพื่อประกอบการตัดสินในการรักษา
คำสำคัญ : แผลติดเชื้อที่กระจกตา, แผลกระจกตา
Abstract
Objective : To study number, characteristic and treatment of patients with corneal ulcer leading to admission at Sawanpracharak Hospital
Setting : Department of Ophthalmology, Sawanpracharak Hospital, Nakhon Sawan province
Design : Retrospective descriptive study method
Subjects : All patients with suspected corneal ulcer, and were admitted at Sawanpracharak Hospital from 1 January 2012 to 31 December 2016. The total number of subjects was 343.
Methods : The medical record was reviewed to collect the following data from the patients: sex, age, occupation, predisposing factors, causative organism and treatment
Results : Among 343 patients who were diagnosed as corneal ulcer patients and were admitted at Sawanpracharak Hospital, 61.2% were male and the average age was 51.7±19.49 years old. The most common occupation of the patients was freelance 47.8 % followed by farmer 21.9%, respectively. The most common predisposing factor was trauma from foreign body cause stab by grass leaf or branch 17.8%. Based on diagnostic data from clinic and microbiology laboratory, bacteria was the major cause by comparison with fungi. The most common isolated pathogen from corneal specimens was Pseudomonas aeruginosa. All patients were prescribed with topical antimicrobial agents. 8.5% of patients needed to undergo surgery and 5.8% of patients was referred to cornea specialist consultation
Conclusion : Encouraging people to wear protective glasses while doing the activities that may cause eye trauma from the foreign body may decrease the incidence of corneal ulcer, especially in male with the age of 41-70 years old who are freelance or farmer. The choice of empirical topical antimicrobial agents for the patients should cover Pseudomonas aeruginosa. However, the clinical findings should be also taken into account.
Keyword : infectious keratitis, cornel ulcer