ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของสตรีตั้งครรภ์ในพื้นที่ชายขอบไทย-พม่า : Prevalence of Hepatitis B Viral Infection in Pregnant Women on The Thailand-Myanmar Border
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและแนวโน้มของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก
สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
กลุ่มตัวอย่าง : หญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่มาคลอดในโรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ถึง 30 ธันวาคม 2561 และมีบันทึกข้อมูลในเวชระเบียนครบถ้วนจำนวน 5,885 คน
วิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนที่ถูกบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์และความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความชุกของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มที่เกิดก่อนและหลังปี พ.ศ. 2535 ด้วย chi-square test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติ p-value น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา : หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอด เป็นคนไทยร้อยละ 33.1 คนต่างด้าวร้อยละ 66.9 อายุเฉลี่ย 25.6 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.7 ปี พบติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทั้งหมด 395 คน ความชุกเฉลี่ยร้อยละ 6.7 โดยในคนไทยมีแนวโน้มพบการติดเชื้อลดลงตามอายุเท่ากับร้อยละ 3.2, 6.6, 7.8, 9.5 และ 11.8 ในกลุ่มอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี, 21 - 25 ปี 26 – 30 ปี และมากกว่าหรือเท่ากับ 36 ปี ตามลำดับ ในขณะที่คนต่างด้าวยังพบความชุกของการติดเชื้อค่อนข้างคงที่ร้อยละ 5.6 – 7.6 เมื่อพิจารณาตามปีเกิดของหญิงตั้งครรภ์เปรียบเทียบก่อนและหลังปีพ.ศ. 2535 พบว่าความชุกของการติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เฉพาะในกลุ่มคนไทย จากร้อยละ 8.7 เหลือร้อยละ 3.8 ขณะที่คนต่างด้าวลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 7.2 เหลือร้อยละ 6.1 (p = 0.21)
คำสำคัญ : ความชุก ไวรัสตับอักเสบบี หญิงตั้งครรภ์ พื้นที่ชายขอบไทย-พม่า
Abstract:
Objectives : This study was aimed at estimating the prevalence and trend of HB infection among pregnant women who delivered at Umphang hospital.
Setting : Umphang hospital, Tak province
Design : Descriptive retrospective study
Subjects : Total 5,885 pregnant women who delivered in Umphang hospital from 1st January 2011 to 31st December 2018 and have complete medical records.
Methods : Analysis was done on secondary data extracted from the hospital records database. Data were analyzed using descriptive statistics and chi-square test to test association between prevalence of HB infection and year of birth.
Results : all pregnant women, 33% were Thai and 67% were non-Thai nationalities. Mean age was 25.6 years (SD 6.7 years). There were 395 HB infected patients, indicating a prevalence of HB infection of 6.7%. HB infection tended to decrease among Thai women according to age: 3.2%, 6.6%, 7.8%, 9.5% and 11.8% in age group < 20, 21–25, 26–30 and >36 years-old, respectively; however, in non-Thai nationalities, prevalence was between 5.6%–7.6%. The prevalence of HB infection has decreased significantly among Thai nationals born after 1992 compare with born before 1992 (8.7% vs 3.8%, p < 0.001) but remaining high in non-Thai nationals (7.2% vs 6.1%, p = 0.21).
Keywords : prevalence, hepatitis B, pregnancy, Thailand-Myanmar border