This is an outdated version published on 2020-11-16. Read the most recent version.

เชื้อก่อโรคกับผลลัพธ์จากการติดเชื้อช่องท้องอักเสบของการล้างไตทางช่องท้องในหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ Causative Organisms and Outcomes of Peritoneal Dialysis-Related Peritonitis in Peritoneal Dialysis Unit Sawanpracharak Hospital

Authors

  • รัชนี เชี่ยวชาญธนกิจ

Abstract

วัตถุประสงค์          :     เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะติดเชื้อช่องท้องอักเสบที่สัมพันธ์กับการล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis related peritonitis :PD-related peritonitis) เชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุ และมีผลต่อการถอดสายล้างช่องท้องแบบถาวร (switch mode to hemodialysis) และการเสียชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด PD-related peritonitis

สถานที่ศึกษา          :     หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ 

รูปแบบการวิจัย      :     การศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study)

กลุ่มตัวอย่าง           :     ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธี continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) ทุกคน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2561  ทั้งหมด 866 คน 

วิธีการศึกษา            :     รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ อายุ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย โรคที่เป็นสาเหตุของไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โรคร่วม ประวัติล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องได้แก่ วันเริ่มใส่สายล้างช่องท้อง วันเริ่มใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง วันที่ยุติการล้างช่องท้อง วันที่เสียชีวิต ระยะเวลาพักท้อง (break-in) หลังการใส่สายล้างช่องท้อง วันที่เกิด peritonitis และเชื้อก่อโรค วิเคราะห์เปรียบเทียบชนิดของเชื้อก่อโรคต่อการเกิดผลลัพธ์ของการรักษา PD-related peritonitis คือการถอดสายล้างช่องท้องแบบถาวร หรือการเสียชีวิต ด้วยสถิติไคสแควร์ (Pearson’s chi-squared test) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด PD-related peritonitis ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบทวิภาค (binary regression) และพิจารณาความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา           :     พบภาวะ PD-related peritonitis 800 ครั้ง  คิดเป็นอัตราการเกิดเท่ากับ 0.45 episodes per patient-year อัตราการเกิดเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุของ gram positive, culture negative, gram negative, fungus, mixed organism และ mycobacterium tuberculosis เท่ากับ ร้อยละ 31.9, 27.5, 26.8, 3.8, 1.9 และ 1.0 ตามลำดับ เชื้อก่อโรคที่รุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการถอดสายล้างช่องท้องแบบถาวรและเสียชีวิตมากที่สุด คือ fungus และ mycobacterium tuberculosis พบว่าเชื้อก่อโรค gram negative มีการเสียชีวิตและการถอดสายล้างช่องท้องแบบถาวรในผู้ป่วยมากกว่า culture negative อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (57.9% VS 41.4%, P value < 0.001) และเชื้อก่อโรค culture negative มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและการถอดสายล้างช่องท้องแบบถาวรในผู้ป่วยมากกว่า gram positive อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (41.4% VS 16.1%, P value < 0.001)  ปัจจัยป้องกันการเกิด PD-related peritonitis  คือผู้ป่วย CAPD ที่เริ่มรักษาระหว่างปี 2556-2561  เมื่อเทียบกับ ปี 2550-2555 (RR = 0.66, 95% CI 0.59-0.73, P value < 0.001)

วิจารณ์และสรุป     :     การเกิด PD-related peritonitis ในการศึกษาพบว่าเชื้อก่อโรคจากแบคทีเรียกลุ่ม gram negative เป็นสาเหตุสัดส่วนที่มากกว่าข้อมูลจากต่างประเทศ  และยังมีความรุนแรงนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ดี คือ การเสียชีวิต และการถอดสายล้างช่องท้องแบบถาวรมากที่สุดเมื่อเทียบกับแบคทีเรียกลุ่ม gram positive หรือ culture negative peritonitis   ผู้ป่วย CAPD ที่เริ่มรักษาระหว่างปี 2556-2561 มีความเสี่ยงต่อการเกิด PD-related peritonitis น้อยกว่า เพราะประสบการณ์ของแพทย์  พยาบาล  และเครือข่ายมากขึ้น มีการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะ peritonitis

คำสำคัญ                  :     การล้างไตทางช่องท้อง,  ภาวะติดเชื้อช่องท้องอักเสบของการล้างไตทางช่องท้อง,  เชื้อก่อโรค, การถอดสายล้างไตทางช่องท้อง

Abstract

Objective                :     This study aimed to analyze rate of  PD-related peritonitis, causative organism and outcomes of PD-related peritonitis in CAPD patients  and  risk factor of PD-related peritonitis.

Setting                    :     peritoneal dialysis unit, Sawanpracharak hospital

Design                     :     retrospective cohort study

Subjects                  :     866 CAPD patients at peritoneal dialysis unit during Jan 1, 2007 to Dec 31, 2018

Method                   :     Medical records and dialysis records were reviewed. The following data : age, gender, cause of ESRD, Co-morbid disease,  weight and height, date (Tenckhoff catheter insertion/removal,  started/end peritoneal dialysis, peritonitis, death, hemodialysis), cause of death/ Tenckhoff catheter removal, causative organism. Causative organism and outcome (death and switch mode to hemodialysis) were analyzed by using Pearson’s Chi-square and risk factor of PD-related peritonitis were analyzed by using Binary logistic regression. Statistic significant was determined as p value less than 0.05.

Results                    :     866 CAPD patients, PD-related peritonitis were totally 800 episodes. Rate of peritonitis from gram positive, culture negative, gram negative, fungus, mixed organism and mycobacterium tuberculosis were 31.9%, 27.5%, 26.8%, 3.8%, 1.9% and 1.0% respectively. Causative organisms that mostly led to switch mode to HD and death were fungus and mycobacterium tuberculosis. Gram negative bacteria increased risk of death and switched mode to HD more than culture negative peritonitis statistical significantly (57.9% Vs 41.4%, P value < 0.001). So culture negative peritonitis were increased risk of death and switch mode to HD more than gram positive bacteria statistical significantly (41.4% Vs 16.1%, P value < 0.001). Preventive factor of PD-related peritonitis was CAPD patients during 2013-2018 compared with CAPD patients during 2007-2012 (RR = 0.66, 95% CI 0.59-0.73, P value < 0.001).

Conclusion            :     Causative organisms of PD-related peritonitis from gram negative bacteria were more common that different from previous studies in another countries. Gram negative bacteria also led to death and switched to hemodialysis more than gram positive bacteria and culture negative peritonitis statistical significantly. The reasons of PD-related peritonitis of CAPD patients during 2013-2018 less than 2007-2012 was the result of experienes development in physicians, nurses and development in more experiences from physicians, nurse and peritoneal dialysis care team from district hospitals especially when CAPD patients had PD-related peritonitis.

Key words              :     peritoneal dialysis, PD-related peritonitis, causative organism, swith mode to hemodialysis

Downloads

Published

2020-11-16 — Updated on 2020-11-16

Versions

How to Cite

เชี่ยวชาญธนกิจ รัชนี. 2020. “เชื้อก่อโรคกับผลลัพธ์จากการติดเชื้อช่องท้องอักเสบของการล้างไตทางช่องท้องในหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ Causative Organisms and Outcomes of Peritoneal Dialysis-Related Peritonitis in Peritoneal Dialysis Unit Sawanpracharak Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 17 (3). Nakhonsawan Thailand:82-93. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/9572.

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)