การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน : Development of A Model of Care for Stroke Patients at Home
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน ได้แก่ ความรู้ และความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
สถานที่ศึกษา : ศูนย์สุขภาพชุมชนวัดไทรใต้
รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการในรักษาโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และได้รับการส่งต่อเพื่อติดตามเยี่ยมบ้านที่ศูนย์สุขภาพชุมชนวัดไทรใต้ จำนวน 30 คน
วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน (analysis) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน (design and development) ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านไปใช้ (implementation) และขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน (evaluation: development)
ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 56.7 อายุเฉลี่ย 51.3 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน1.9 ปี ระดับการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาร้อยละ 63.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 66.7 สิทธิการรักษาเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 73.3 ระยะเวลาที่นอนในโรงพยาบาลจำนวน 11-20 วัน ร้อยละ 73.7 วินิจฉัยโรคส่วนใหญ่เป็น ischemic stroke ร้อยละ 83.3 และ hemiplegia ข้างขวา ปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่ คือ ผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ขาดการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และขาดความรู้ทักษะและความมั่นใจในการดูแล หน่วยบริการสุขภาพไม่มีแนวทางในการดูแลที่บ้านที่มีรูปแบบที่ชัดเจน รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นเป็นการดูผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับในโรงพยาบาล และติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ประกอบด้วยแนวคิดเรื่องการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะที่อยู่โรงพยาบาล และดูแลต่อเนื่องเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายกลับบ้านและให้ความสำคัญของการให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหาร การรับประทานยา และการออกกำลังกาย หลังการได้รับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.3±1.0 และ 13.5±1.4, P value =0.05) และมีคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันหลังสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (46.0±24.4 และ 76.1±23.3, P value =0.05)
วิจารณ์และสรุป : รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยมีการสอนสาธิต สาธิตย้อนกลับในการออกกำลังกาย การให้ความรู้เรื่องการรับประทานยา การรับประทานอาหาร การสอบถาม การสาธิตย้อนกลับในการเยี่ยมครั้งต่อไป มีการติดตามทางโทรศัพท์ และการเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน อีกทั้งยังมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองและพึ่งพาผู้อื่นให้น้อยที่สุด จนสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง ทำให้ค่าคะแนนความรู้และความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันหลังได้รับรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : โรคหลอดเลือดสมอง การดูแลที่บ้าน
Abstract
Objective : The objective of this study are to develop a caring model for stroke patients at home and study the effectiveness of the caring model including knowledge and ability in daily activities
Setting : Wat Sai Tai Primary Care Unit
Design : Action research
Subject : 30 stroke patients who were admitted at Sawanpracharak Hospital and were followed up at Sai Tai Primary Care Unit
Method :This study consisted of 4 steps, firstly, to study the problem of cerebrovascular disease care at home (Analysis) secondly, to develop a home care model for stroke patients (Design and Development). Thirdly, the use of a home care model for stroke patients (Implementation) Lastly, evaluate the effectiveness and improve the home care model for stroke patients (Evaluation: Development)
Result : Most of the sample are male, 56.7%, age between 51-55 years, 26.6%, the average age 51.30 years (SD = 1.946), 63.3% higher secondary education, and 66.7% are not occupational rights. Universal health 73.3%, hospital bed length 73.7%, mostly diagnosed with 83.3% ischemic stroke and right hemiplegia. The developed care model was a continuous view of the patient from hospitalization and monitoring at home, in conjunction with relevant literature reviews, including the concept of patient care from the hospital and continuing care after discharged home and the focus of education, diet, medication and exercise for cerebrovascular care at home. After receiving the home care model of stroke patients, the sample subjects had a statistically significant increase in mean knowledge score (6.3 ± 1.0 and 13.5 ± 1.4, P value = 0.05). In daily routine activities were significantly higher (46.0 ± 24.4 and 76.1 ± 23.3, P value = 0.05).
Conclusion : The results of the study showed that the problems of caring for most stroke patients were lack of knowledge, skills and confidence in the care. There was a moderate level of knowledge score for caring of stroke patients at home and had an average score of 46.0 in daily activities. Researchers have developed a home care model for stroke patients with a demonstration teaching, demonstrate reverse in exercise, educating medicine dining, Inquiries, demonstrations, returning on your and next phone visit is available and giving opportunities to ask questions about caring for stroke patients at home. It also has continued care, which allows patients to take care of themselves and rely on others to a minimum until being able to carry out daily activities by itself. This results in a statistically significant increase in the knowledge score and daily performance after receiving a home care model of stroke patients at a .05 level.
Key word : Stroke, Home Health Care