อุบัติการณ์และปัจจัยการเกิดแกรนูโลมาที่เยื่อบุตา หลังได้รับการผ่าตัดต้อเนื้อโดยวิธี วางสารมัยโตมัยซินซี ที่โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ปี 2559-2561
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ผลการรักษา และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแกรนูโลมาที่เยื่อบุตา หลังได้รับการผ่าตัดต้อเนื้อโดยวิธีวางสารมัยโตมัยซินซี
สถานที่ศึกษา : แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study)
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยต้อเนื้อที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดโดยวิธีวางสารมัยโตมัยซินซีทุกคน
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 686 คน
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก และใบบันทึกการผ่าตัด ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ โรคประจำตัว วันผ่าตัด ตาข้างที่ผ่าตัด ยาที่ผู้ป่วยได้รับ การเกิด conjunctival granuloma หลังผ่าตัด ระยะเวลาที่เกิด และการรักษา วิเคราะห์ปัจจัยต่อการเกิด conjunctival granuloma โดยใช้สถิติไคว์สแควร์ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อเนื้อด้วยวิธี Pterygium excision with Mitomycin C (MMC) มีจำนวนทั้งหมด 686 คน 773 ตา โดยเป็นเพศหญิงร้อยละ 70.6 เพศชายร้อยละ 29.4 อายุระหว่าง 23 - 93 ปี (อายุเฉลี่ย 62.6 + 10.2 ปี) และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 31.6) จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด พบผู้ป่วยที่เกิดภาวะ conjunctival granuloma หลังลอกต้อเนื้อ จำนวน 26 คน (33 ตา) คิดเป็นร้อยละ 3.8 โดยมีอายุเฉลี่ย 53.6 + 9.8 ปี เป็นเพศชาย 17 คน (ร้อยละ 65.4) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 12 คน(ร้อยละ 46.2) โรคประจำตัวที่พบมากในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ อาชีพ และโรคประจำตัว มีผลต่อการเกิด conjunctival granuloma อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการเกิด conjunctival granuloma คือ ตาข้างที่ผ่า และแพทย์ผ่าตัด การให้การรักษาหลังเกิด conjunctival granuloma โดยการผ่าตัด excision granuloma จำนวน 20 คน 20 ตา (ร้อยละ 76.9) ที่เหลือก้อนยุบหลังจากให้ยาหยอดตา ผลการผ่าตัดไม่พบการเกิด granuloma ซ้ำอีก
วิจารณ์และสรุป : การรักษาโดยการผ่าตัดต้อเนื้อด้วยวิธี Pterygium excision with MMC เกิดภาวะ conjunctival granuloma ร้อยละ 3.8 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด conjunctival granuloma อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ อายุ อาชีพ และโรคประจำตัว ผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีแนวโน้มจะเกิด conjunctival granuloma มากกว่าอาชีพอื่น จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยใส่แว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสงแดดและสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ซึ่งวิธีการผ่าตัดต้อเนื้อโดยการใช้สาร MMC เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย จากการศึกษานี้ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ลูกตาขาวทะลุ หรือติดเชื้อในลูกตา
คำสำคัญ : ผ่าตัดต้อเนื้อด้วยสารมัยโตมัยซินซี, แกรนูโลมาที่เยื่อบุตา
Abstract
Objective : To study the incidence, results of treatment and factors of conjunctival granuloma after pterygium excision with mitomycin C (MMC)
Setting : Department of Ophthalmology, Chainat Narendra Hospital
Design : Retrospective descriptive study
Subjects : 686 patients who underwent pterygium excision with mitomycin C from 1st January 2016 to 31st December 2018 at Chainat Narendra Hospital.
Method : Patients data were recorded about gender, age, occupation, underlying disease, date of operation, side of eye, medications, number of those who occurred conjunctival granuloma after the operation, duration of granuloma and treatment. The data were descriptive analysis. The factors were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation. Chi-square test were used to analyze the data. (P < 0.05)
Result : There were 686 patients whose 773 eyes had pterygium excision with mitomycin C. Among these, 70.6 % of the patients were women and 29.4% were men. The range of age was between 23 - 93 years old in which the average were 62.6 + 10.2 years. The chief occupations were engaged in agriculture (31.6%). From the total number of patients after receiving pterygium excision formed 3.8 % conjunctival granuloma as follows ; 26 patients (33 eyes), mean age was 53.6 + 9.8 years and 17 patients were men (65.4%). Apart from this, it was found that 12 patients were agriculturists (46.2%). Common diseases mostly found in these groups were hypertension and hyperlipidemia. The study showed that gender, age, occupation and underlying diseases effected the occurrence of conjunctival granuloma significantly. The factors that did not affect the form of conjunctival granuloma were the operated side of eye and the surgeon. 20 patients with 20 eyes (76.9%) who developed conjunctival granuloma received excision granuloma. The residuals having received only eye drops could recover without more treatment. There was no recurrence after post operation.
Conclusion : Pterygium excision with MMC caused to develop conjunctival granuloma at the rate of 3.8%. Factors of gender, age, underlying diseases were found significantly related to conjunctival granuloma . Agriculturists or farmers tend to be more vulnerable to develop conjunctival granuloma than those of other occupations. The ophthalmologist ought to suggest them to protect their eyes from the sunlight or foreign body by wearing sunglasses while working. Pterygium excision with MMC is easy, safe and takes a short time in operation. No serious complication such as scleral melting or endophthalmitis was found in this study.
Key word : pterygium excision with mitomycin C, conjunctival granuloma