ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ The Effects of Health Literacy Enhancement Program on Self-Care Behaviors of Pati

Authors

  • บุญญธิดา ยาอินทร์

Abstract

วัตถุประสงค์       :   เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

สถานที่ศึกษา      :   คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมแสง

รูปแบบการวิจัย   :   วิจัยเชิงทดลอง

กลุ่มตัวอย่าง       :   ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 50 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยวิธีการจับคู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คน

วิธีการศึกษา       :   กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การพัฒนาทักษะด้านความรู้ความเข้าใจข้อมูลที่เป็นตัวอักษร การพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพ และการพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ  และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired simple t-test และ Independent t-test

ผลการศึกษา       :   หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วิจารณ์และสรุป   :   ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ต่อเนื่องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดในระยะยาวต่อไป

คำสำคัญ           :   โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ  ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

 

Abstract

Objective    : The objective of this experimental research was to study the effects of health literacy enhancement program on self-care behaviors of patients with uncontrolled diabetes type 2

Setting        : Non-communicable diseases Clinic, Chumsaeng Hospital

Design        : Experimental research

Subjects      : The participants were 50 patients with DM patients who received health services at Chumsaeng Hospital in Nakhonsawan Province. The sample group is divided by stratified random sampling into experimental (n=25) and control groups (n=25) assignment by matching subject.

Method       : The experimental group received the health literacy enhancement program included 1) cognitive skills  2) health communication skills 3) self management skills. Research instrument is a health literacy enhancement program and a questionnaire for health literacy on self-care behaviors. Data were analyzed using descriptive and inferential statistics (paired simple t-test, Independent t-test)

Results        : The research results revealed that after receiving in the program, the experimental group had statistically and significantly higher mean scores of health literacy, and self-care behavior than before receiving the program and their scores were also higher than the control group (p<0.05). Moreover, the experimental group had the participants controlling blood sugar good levels than before receiving the program 40 percent increase. Whereas, the mean score of blood sugar levels no different statistically significant between the experimental and the control group.

Conclusion  : The result of the research found that the health literacy enhancement program could change practice more appropriate self-care behavior in DM patients, which may affect blood sugar levels in the long term.

Keyword     : Health literacy enhancement program, Uncontrolled diabetes

Downloads

Published

2021-03-03

How to Cite

ยาอินทร์ บุญญธิดา. 2021. “ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ The Effects of Health Literacy Enhancement Program on Self-Care Behaviors of Pati”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (1). Nakhonsawan Thailand:35. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/9882.

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)