ผลการใช้โปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์

The Effect of Using Cervical Cancer Screening Program on Knowledge Attitude and Intention to Receive Cervical Cancer Screening Service, Phra Non Health Promoting Hospital, NakhonSawan Province

Authors

  • ศรีสุรัตน์ ชัยรัตนศักดา

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์          :     เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเปรียบเทียบความรู้ทัศนคติและความตั้งใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สถานที่ศึกษา          :     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์

รูปแบบการวิจัย      :     กึ่งการทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Quasi-experimental, one group pretest posttest design)

กลุ่มตัวอย่าง           :     สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุระหว่าง 30-60 ปี ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน

วิธีการศึกษา            :     เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แบบวัดทัศนคติที่มีต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และแบบวัดความตั้งใจในการรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเครื่องมือชุดเดียวกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบแบบที (t-test) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา           :     สตรีกลุ่มตัวอย่าง  มีความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับดี มีความตั้งใจมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับปานกลาง และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

วิจารณ์และสรุป     :     โปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นการประยุกต์กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ การสร้างเสริมความรู้ ตลอดจนพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยมีการกำหนดแผนหรือลำดับขั้นตอนในการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3 ด้าน คือ การสอนความรู้ การสอนทัศนคติ และการสอนทักษะ ซึ่งหลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่สำคัญ เพื่อให้แต่ละบุคคลสามารถตัดสินใจในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสม              

คำสำคัญ                  :     โปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  โรคมะเร็งปากมดลูก  กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

Abstract

Objective                :     The purpose of this study is to investigate the effects of Cervical cancer screening Program on knowledge attitude and Determination to receive screening services for cervical cancer.

Setting                    :     Phra Non Health Promoting Hospital, Nakhon Sawan Province.

Design                     :     Quasi-experimental, One Group Pre-test Post-test Design

Subject                    :     30 female participants, aged 30-60 years         

Method                   :     The information was collected by test of knowledge about cervical cancer screening test of attitude towards cervical cancer screening and test of the determination to receive screening services for cervical cancer. Evaluate both before and after the program with the same instrument. Data were analyzed by using t-test

Result                      :     The participants have knowledge about cervical cancer in the middle level. Attitudes toward cervical cancer screening at a good level. The determination to receive screening services was in the middle. In addition, after the intervention score of the knowledge attitude and determination to receive screening services for cervical cancer were higher than before receiving the program at a statistically significant level of .05.

Conclusion            :     Cervical cancer screening program is an application for the learning process. Participatory to enhance learning experience knowledge. As well as, behavior self-care by setting plans or the teaching process sequence that dealing with the objectives Learning in 3 areas: teaching knowledge, teaching attitude and teaching skills, which the principle of participatory learning important partners so that individual can make decision about their health care.

Key word               :     cervical cancer screening program, cervical cancer, participatory learning process

Downloads

Published

2021-04-19

How to Cite

ชัยรัตนศักดา ศรีสุรัตน์. 2021. “ผลการใช้โปรแกรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระนอน จังหวัดนครสวรรค์ : The Effect of Using Cervical Cancer Screening Program on Knowledge Attitude and Intention to Receive Cervical Cancer Screening Service, Phra Non Health Promoting Hospital, NakhonSawan Province”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (1). Nakhonsawan Thailand:60. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/9911.

Issue

Section

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)