ปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินสภาวะทันตสุขภาพด้วยตนเองในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

Factors Affecting Self-Assessment of Dental Health in Junior High School Students Mattayom 2 Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province

ผู้แต่ง

  • กชกร แถวสุวรรณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์          : เพื่อทราบความสามารถในการประเมินสภาวะทันตสุขภาพด้วยตนเอง ความรู้ทางทันตสุขภาพ ทัศนคติทางทันตสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ  สภาวะทันตสุขภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินสภาวะทันตสุขภาพด้วยตนเองในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

สถานที่ศึกษา          : โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 2 โรง

รูปแบบการวิจัย      : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (cross sectional analytical study )

กลุ่มตัวอย่าง           : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 171 คน 

วิธีศึกษา                   : ทำการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างให้รู้จักลักษณะของฟันผุ และวิธีการตรวจฟันด้วยตนเองก่อนตรวจฟันของตนเองด้วยตาเปล่า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนในโครงการยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี  และแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง และประเมินสภาวะทันตสุขภาพโดยทันตแพทย์ วิเคราะห์ตัวแปรอิสระแต่ละตัวกับตัวแปรตามด้วยการทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ตัวแปรอิสระทุกตัวกับตัวแปรตามด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ที่ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

ผลการศึกษา           : นักเรียนเป็นเพศหญิงร้อยละ 55.6  อายุเฉลี่ย 13.5 + 0.54 ปี อายุต่ำสุด 12 ปี อายุสูงสุด 15 ปี สามารถประเมินสภาวะทันตสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละ 56.7 มีความรู้ทางทันตสุขภาพระดับดี ร้อยละ 11.1 มีทัศนคติทางทันตสุขภาพระดับดี ร้อยละ 67.8 มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพระดับดี ร้อยละ 32.2 และมีสภาวะทันตสุขภาพดี ร้อยละ 33.3  นักเรียนร้อยละ 66.7 เป็นโรคฟันผุ โดยมีค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด 2.3 ซี่ต่อคน นักเรียนหญิงมีค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด มากกว่านักเรียนชาย โดยนักเรียนที่เคยมีโรคฟันถาวรผุสามารถประเมินสภาวะทันตสุภาพเรื่องโรคฟันผุด้วยตนเองได้ถูกต้องเป็น 31.28 เท่าของนักเรียนที่ไม่มีฟันถาวรผุ  (OR 31.28; 95% CI 6.89 - 141.87, P=0.001)

 วิจารณ์และสรุป       :นักเรียนส่วนใหญ่สามารถประเมินสภาวะทันตสุขภาพด้วยตัวเองได้ถูกต้องและมีทัศนคติในระดับดี แต่ส่วนน้อยมีความรู้  พฤติกรรมทางทันตสุขภาพ และสภาวะทันตสุขภาพในระดับดี  การประเมินสภาวะทันตสุขภาพด้วยตนเอง  มีความสัมพันธ์กับการมีโรคฟันถาวรผุ  ดังนั้นการส่งเสริมเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองแก่นักเรียนมัธยมศึกษา  โดยให้ทันตสุขศึกษา วิธีการตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเองรวมทั้งการแปรงฟันถูกวิธี  จะส่งผลให้นักเรียนสามารถประเมินสภาวะช่องปากตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น  มีการดูแลทันตสุขภาพมากขึ้นทั้งในด้านการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปีเพื่อค้นหาโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก  และรับการรักษาทางทันตกรรมเพื่อลดโรคในช่องปากที่สมบูรณ์ต่อไป

คำสำคัญ                  : วัยรุ่น การประเมินทันตสุขภาพด้วยตนเอง พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ

Abstract

Objective               :The purpose of this study is to assess the ability in Self-Assessment of Dental

Health knowledge, attitude,  behavior about the oral health care, dental health status and  factors affecting Self-Assessment of Dental Health among 171 Junior High School Students M. 2 in Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province

Setting                    : 2 Junior High School, in Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province.

Design                     : Cross sectional analytical study.

Subjects                  : 171 Junior High School Students mattayom 2 Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province.

Method                   : using self-administered questionnaire and Yimsodsai dental examination form.

Results                 : The research found that 1) 55.6% of Junior High School Students were female with a mean age of 13.5+ 0.54 years old, range from 12 - 15 years old, 2) 56.7% were able to assess dental status correctly.11.1% had good dental health knowledge, 67.8% had good dental health attitude, 32.2% had good dental health behavior, 33.3% had good dental health status. 3) The students were caries affected (66.7%) with average DMFT  are 2.3 ,the girl's DMFT(2.5) was more than the boy's (2.0).4) From bivariate analysis by using Chi Square, it was found that Self-Assessment of Dental Health was related to dental health status. Logistic regression analysis revealed that the factor determined Self-Assessment of dental health was dental health status (OR= 24.74, P= 0.00)

Conclusion            : Mattayom 2 students are able to assess their dental health properly and have a good attitude.  But few have good knowledge, good dental health behavior . Self assessment of dental health status  correlated with having permanent tooth decay  It is important to promote self-care of oral health for junior high school students by providing dental hygiene education to encourage students to recall (Recall) methods of oral health examination by themselves, including proper brushing.  Students will have the ability to perform oral examinations on their own and be able to more accurately assess their own oral conditions.  This will enable students to have more dental health care, both in the field of annual oral health check-ups to find the disease from the early stages.  Moreover, they can receive dental treatment to reduce complete oral disease

Keywords               : adolescents, self-assessment of dental health, dental health behavior

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29

วิธีการอ้างอิง

แถวสุวรรณ กชกร. 2021. “ปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินสภาวะทันตสุขภาพด้วยตนเองในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์: Factors Affecting Self-Assessment of Dental Health in Junior High School Students Mattayom 2 Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (1). Nakhonsawan Thailand:88. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10046.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)