ผลของการคัดกรองคำสั่งใช้ยาและอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

The Results of Prescribing Screening and incidence of medication error in Out Patient, Sawanpracharak Hospital

ผู้แต่ง

  • อัญชลี อังศธรรมรัตน์
  • สุจิตรา ตั้งมั่นคงวรกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์          :  เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยา กลุ่มยาที่เกิดความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยา และประเภทความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยา

สถานที่ศึกษา          : งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการวิจัย      : วิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)

กลุ่มตัวอย่าง           : ใบสั่งยาและคำสั่งใช้ยาที่พบความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาของผู้ป่วยนอก ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 180 ใบ และปีงบประมาณ 2561 จำนวน 180 ใบ

วิธีการศึกษา            : ออกแบบระบบการประสานงานกับแพทย์และคัดกรองคำสั่งใช้ยาโดยเภสัชกรในผู้ป่วยนอก สร้างแบบฟอร์มที่ใช้ในการประสานงานกับแพทย์ผู้สั่งใช้ยา และแบบบันทึกข้อมูลความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา นำไปใช้และแก้ไขปรับปรุงระบบและเครื่องมือจนเหมาะสม ประเมินอัตราอุบัติการณ์ และรายละเอียดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาภายหลังการปรับระบบ

ผลการศึกษา           : พบอัตราอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา ในปีงบประมาณ 2560 และ 2561 เท่ากับ 2.86 ครั้งต่อ 1,000 ใบสั่งยา และ 3.72 ครั้ง ต่อ 1,000 ใบสั่งยา จากการสุ่มใบสั่งยาที่พบความเคลื่อน 180 ใบ พบว่ายากลุ่มที่พบการสั่งจ่ายยามีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด ในปีงบประมาณ 2560 คือ กลุ่ม Infections จำนวน 34 ใบสั่ง (ร้อยละ 18.9) รองลงมาคือกลุ่ม Eye 23 ใบสั่ง (ร้อยละ 12.8)  และกลุ่ม Cardiovascular system 19 ใบสั่ง (ร้อยละ 10.5) และในปีงบประมาณ 2561 กลุ่มที่พบการสั่งจ่ายยามีความคลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ กลุ่ม Infections 32 ใบสั่ง (ร้อยละ 17.8) รองลงมาคือ กลุ่ม Central Nervous system 21 ใบสั่ง (ร้อยละ 11.7) โดยทั้งปีงบประมาณ 2560 และ 2561 พบว่าประเภทของความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ ME 4.9 คำสั่งใช้ยาไม่ครบถ้วน 37 ใบสั่ง (ร้อยละ 20.6) และ 35 ใบสั่ง (ร้อยละ 19.4)

สรุป                             :การปรับเปลี่ยนระบบการคัดกรองใบสั่งยาโดยเภสัชกรสามารถดักจับความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา (prescribing error) ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 8.6 ซึ่งการดักจับความคลาดเคลื่อนที่มากขึ้นจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้อง เหมาะสมและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ                     :ความคลาดเคลื่อนทางยา ความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยา การคัดกรองคำสั่งใช้ยา เภสัชกร

 

Abstract

Objective                :  To study the incidence rate of prescribing errors, drug groups based on medication error and types of prescribing error

Setting                    : Outpatient section, pharmacy department, Sawanpracharak hospital

Design                     : descriptive study

Subjects                  : Annual medical error report (2017, 2018), Randomize 180 prescribing error each year.

Methods               : Design system, consulting form for consulting Physicians and data collection form.  Implement and revise the system and tools until appropriate. Assess the incidence rate and details of medication error after system adjustment.

Results                  : There were 2.86/1000 prescriptions and 3.72/1000 prescriptions of prescribing error incidences in 2017 and 2018. Randomly, 180 prescribing error each year in 2017, the medication with the highest error rate defined by drug class was Infection drugs 34 prescriptions (18.9%), Eye drugs 23 prescriptions (12.8%)  and Cardiovascular system drugs 19 prescriptions (10.5%) in 2017. Infection drugs 32 prescriptions (17.8%) and CNS drugs 21 prescriptions (11.7%) in 2018. The types of prescription medication errors in 2017 and 2018, it was found the most occurring were ME 4.9, 37 prescriptions (20.6%) and 35 prescriptions (19.4%).

Conclusion          :Modification of the prescription screening system, in which the pharmacists can detected prescribing errors about 8.6 percent, with the more detection errors, patients will be  receiving the correct medication  more often, resulting in a safer and higher standard of care.

Key words              : Medical error, Prescribing error, Prescription Screening, Pharmacist

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-03-01

วิธีการอ้างอิง

อังศธรรมรัตน์ อัญชลี, และ ตั้งมั่นคงวรกุล สุจิตรา. 2021. “ผลของการคัดกรองคำสั่งใช้ยาและอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์: The Results of Prescribing Screening and Incidence of Medication Error in Out Patient, Sawanpracharak Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 18 (1). Nakhonsawan Thailand:1. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10188.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)