ปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองที่ได้รับการผ่าตัดในระบบการส่งต่อผู้ป่วยอย่างรวดเร็วในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • พงศ์พัฒน์ พันธุ์พฤทธิ์

คำสำคัญ:

เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง, เลือดออกในโพรงน้ำสมอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์     :   เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในโครงการส่งต่อผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูงที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดไปยังห้องผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการศึกษา     :   ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูงที่ได้รับการผ่าตัดอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564  ทั้งหมด 114 คน ประกอบด้วย จังหวัดที่ส่งต่อ เพศ อายุ โรคประจำตัว ปริมาตรของเลือดที่ออกในสมองจากการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ระยะที่สมองเคลื่อนจากแกนกลาง การมีเลือดออกในโพรงน้ำสมอง ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด และวิธีการผ่าตัดที่ผู้ป่วยได้รับ โดยติดตามการเสียชีวิตภายใน 3 เดือนหลังผ่าตัด วิเคราะห์ปัจจัยในการเสียชีวิตโดยการวิเคราะห์แบบหลายตัวแปรด้วย multivariate regression analysis 

ผลการศึกษา     ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี (OR 1.04; 95%CI 1.00 - 1.08; P = 0.03) และ Glasgow coma score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 (OR 0.73; 95%CI 0.61- 0.88; P < 0.01) 

สรุป              :   ผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูงร่วมกับมีอายุมากกว่า 60 ปี หรือ Glasgow coma score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้น

คำสำคัญ         :   เลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง, เลือดออกในโพรงน้ำสมอง

เอกสารอ้างอิง

Amenta PS, Morcos JJ. Nonlesional spontaneous intracerebral hemorrhage. In: Winn HC editors. Youmans neurological surgery. 7th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2016. P.3186-97.

Rosenthal G, Le Roux DP. Physiologic monitoring for traumatic brain injury. In: Winn HC editors. Youmans neurological surgery. 7th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2016. P.2898-09.

van Asxh CJ, Luitse MJ, Rinkel GJ, Van der Tweel I, Algra A, Kljin CJ. Incidence, case fatality, and functional outcome of intracerebral hemorrage over time, according to age, sex and ethnic origin: a systemic review and meta-analysis. Lancet Neurol 2010; 9(2): 167-76.

HemphillIII JC, Greenberg SM, Anderson CS, Becker K, Bendok BR. Guidelines for the management of spontaneous intracerebral hemorrhage: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2015; 46: 2032–60.

AL-Khaleb M, Awwad S, Bruning T. Nontraumatic spontaneous intracerebral hemorrhage: baseline characteristics and early outcomes. Brain and Behavior 2020; 10:e01512. PMID: 31838785. doi: 10.1002/brb3.1512.

Roeder SS, Sprugel MI, Sembill JA, Giede-Jeppe A, Macha K, Madzar D, et al. Influence of the extent of intraventricular hemorrhage on functional outcome and mortality in intracerebral hemorrhage. Cerebrovasc Dis 2019; 47: 245-52.

Eslami V, Tahsili-Fahadan P, Rivera-Lara Lucia, Gandhi D, Ali H, Parry-Jones Adrian, et al. Influence of intracerebral hemorrhage location on outcome in patients with severe intraventricular hemorrhage. Stroke 2019; 50(7): 1688-95

Mahta A, Katz PM, Kamel H, Azizi SA. Intracerebral hemorrhage with intraventricular extension and no hydrocephalus may not increase mortality or severe disability. Journal of clinical neuroscience 2016; 30: 56-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29 — อัปเดตเมื่อ 2022-01-05

เวอร์ชัน

วิธีการอ้างอิง

พันธุ์พฤทธิ์ พงศ์พัฒน์. (2021) 2022. “ปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตในผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมองที่ได้รับการผ่าตัดในระบบการส่งต่อผู้ป่วยอย่างรวดเร็วในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (1). Nakhonsawan Thailand:28. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/10402.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)