ผลสำเร็จของการใช้แนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ต่อโอกาสการรอดชีวิต โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลสำเร็จของการใช้แนวทางการรักษาการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลต่อโอกาสการรอดชีวิต
วิธีการศึกษา ทำการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง(quasi-experimental research) ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลและได้รับการรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทีมกู้ชีพขั้นสูงสังกัดโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือ กลุ่มก่อนใช้แนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (กลุ่มก่อนใช้แนวทางการรักษาฯ) เดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงมิถุนายน 2563 จำนวน 41 คน และกลุ่มหลังใช้แนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (กลุ่มหลังใช้แนวทางการรักษาฯ) เดือนกรกฎาคม 2563 ถึงกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 41 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ศึกษาโอกาสการรอดชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล การรอดชีวิตภายใน 24 และ 48 ชั่วโมงแรก และการรอดชีวิตได้กลับบ้าน โดยใช้สถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มคือ t-test, chi-square test หรือ Fisher’s exact test และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษา : กลุ่มก่อนใช้แนวทางการรักษาฯ มีผู้ป่วยรอดชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยรอดชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยรอดชีวิตภายใน 48 ชั่วโมงแรก และผู้ป่วยที่รอดชีวิตและได้กลับบ้าน ร้อยละ 4.9, 7.3, 2.4 และ 0 ตามลำดับ และกลุ่มหลังใช้แนวทางการรักษาฯ มีผู้ป่วยรอดชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยรอดชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยรอดชีวิตภายใน 48 ชั่วโมงแรกและผู้ป่วยที่รอดชีวิตและได้กลับบ้าน ร้อยละ 7.3, 17.1, 7.3 และ 7.3 ตามลำดับ โดยทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างของโอกาสการรอดชีวิต (p-value 0.64, 0.18, 0.32 และ 0.99 ตามลำดับ)
สรุป : ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล รอดชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรก รอดชีวิตภายใน 48 ชั่วโมงแรก และรอดชีวิตได้กลับบ้านในกลุ่มก่อนและหลังใช้แนวทางการรักษาฯไม่แตกต่างกัน แต่พบว่ากลุ่มหลังใช้แนวทางการรักษาฯ มีแนวโน้มของโอกาสรอดชีวิตและได้กลับบ้านมากกว่า
คำสำคัญ : ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล โอกาสรอดชีวิต ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
เอกสารอ้างอิง
สุกิจ วิภูสัตยา, บวร วิทยชำนาญกุล, กรองกาญจน์ สุธรรม. แนวทางการปฏิบัติการฟื้นคืนชีพ 2553. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
Adult basic and advanced life support: 2020 AHA guidelines for CPR and ECC. Circulation 2020;142 (suppl2): S366–S468. DOI: 10.1161/CIR.0000000000000916.
ไชยพร ยุกเซน. แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2556.
Stopyra JP, Courage C, Davis CA, Hiestand BC, Nelson RD, Winslow JE. Impact of “team-focused CPR” protocol on out-of-hospital cardiac arrest survival in a rural EMS system. Crit Pathw Cardiol 2016 ; 15(3):98–102.
Pearson DA, Darrell NR, Monk L, Tyson C, Jollis JG, Granger CB, et al. Comparison of team-focused CPR vs standard CPR in resuscitation from out-of-hospital cardiac arrest: results from a statewide quality improvement initiative. Resuscitation 2016; 105:165–72.
ศูนย์ข้อมูลและสถิติโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. ข้อมูลสถิติงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์; 2561.
Burn N, Grove SK. The practice of nursing research: appraisal synthesis and generation of evidence. 2009; 6:371-94.
Panchal AR, Berg KM, Hirsch KG, Kudenchuk PJ, Rios MD, Cabanas JG, et al. 2019 American heart association focus update on advanced cardiovascular life support: use of advanced airways, vasopressors, and extracorporeal cardiopulmonary resuscitation during cardiac arrest. Circulation 2019;140: 881-94.
Perkins GD, Jacobs LG, Nadkarni VM, Berg RA, Bhanji F, Blarent D, et al. Cardiac arrest and cardiopulmonary resuscitation outcome report: update of the utstein resuscitation registry templates for out of hospital cardiac arrest. Circulation 2015; 131:1286-300.
Mchone AJ, Edsall J, Gunn J, Lineberry E. Implementation of a team-focused high-performance CPR(TF-HP-CPR) protocol within a rural area EMS system. Advance emergency nursing journal 2019; 41(4): 348-56.
Johnson B, Runyon M, Weekes A, Pearson D. TEAM-FOCUSED Cardiopulmonary resuscitation: Prehospital principles adapted for emergency department cardiac arrest resuscitation. The journal of Emergency medicine 2018; 54(1): 54-63.
Larribua R, Deham S, Niquille M, Sarasin FP. Improvement out of hospital cardiac arrest survival rate after implementation of the 2010 resuscitation guidelines. PLUS ONE 2018; 13(9): e0204169. https://doi.org/10.1371/journal. pone.0204169.
Edelson D, Topjian AA. Interim guidance for basic and advanced life support in adults, children, and neonates with suspected or confirmed COVID-19. Circulation 2020;141(25): 933–43.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.