คุณภาพของการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุชุมชนเขตเมืองจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท สุริย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • กุลนิดา สุนันท์ศิริกูล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • กิตติยารัตน์ ต้นสุวรรณ์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

คุณภาพของการนอนหลับ, นอนไม่หลับ, ผู้สูงอายุ, นครสวรรค์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์   :   ศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับไม่ดีในผู้สูงอายุ

วิธีการศึกษา   :   การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นผู้รับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์บริการสุขภาพในเครือข่ายของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์  จำนวน 184 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลปัจจัยด้านสุขภาพ และแบบประเมิน Thai-Pittsburgh Sleep Quality Index (Thai-PSQI) ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับคุณภาพของการนอนหลับไม่ดี โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และการถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี แสดงค่าขนาดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Odds ratio (OR) และ 95% Confidence interval (CI) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ P-value น้อยกว่า 0.05

ผลการศึกษา   :   กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 68.8 ± 6.9 ปี ความชุกของคุณภาพการนอนหลับไม่ดีคิดเป็นร้อยละ 59.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับไม่ดีคือ เพศหญิง (OR=2.79 ; 95%CI 1.82-4.26, p<0.001) การมีปัญหาหนี้สิน (OR=1.65; 95%CI: 1.09-2.50, p=0.02) การดื่มคาเฟอีน (OR=2.93; 95%CI 1.91-4.48, p<0.001) การประเมินสุขภาพตัวเองปานกลางหรือไม่ดี (OR=2.36; 95%CI 1.56-3.59, p<0.001)  การตื่นมาปัสสาวะกลางคืนมากกว่า 1 ครั้ง (OR=1.58; 95%CI 1.05-2.39, p=0.04) และการมีโรคความดันโลหิตสูง (OR= 2.66; 95%CI 1.74-4.05, p<0.001)

 สรุป           :   ภาวะนอนไม่หลับพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง บุคลากรทางสาธารณสุขควรประเมินภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุในเวชปฏิบัติ และควรให้การดูแลรักษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี

คำสำคัญ       :   คุณภาพของการนอนหลับ, นอนไม่หลับ, ผู้สูงอายุ, นครสวรรค์

 

เอกสารอ้างอิง

Zou Y, Chen Y, Yu W, Chen T, Tian Q, Tu Q, et al. The prevalence and clinical risk factors of insomnia in the Chinese elderly based on comprehensive geriatric assessment in Chongqing population. Psychogeriatrics 2019; 19(4):384-90.

Korkmaz Aslan G, İncİ FH, Kartal A. The prevalence of insomnia and its risk factors among older adults in a city in Turkey's Aegean Region. Psychogeriatrics 2020; 20(1):111-7. doi: 10.1111/psyg.12464. Epub 2019 May 28.

Chinvararak C, Tangwongchai S, Dumrongpiwat N. Sleep quality and its associated factors in the elderly at Pracha Niwet Village. J Psychiatr Assoc Thailand 2018; 63(2):199-210.

Deukhuntod C, Somanusorn S, Kangchai W. Effect of promoting relaxation program by using dharma music and aromatherapy for sleep quality of elderly in social welfare development center for older persons. JHNR 2016; 32(1):153-61.

Thichumpa W, Howteerakul N, Suwannapong N, Tantrakul V. Sleep quality and associated factors among the elderly living in rural Chiang Rai, northern Thailand. Epidemiology and Health 2018; 40:e2018018. doi: 10.4178/epih.e2018018. eCollection 2018.

Patel D, Steinberg J, Patel P. Insomnia in the elderly: a review. J Clin Sleep Med 2018; 14(6):1017-24.

Hfocus.org. เจาะลึกระบบสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 เม.ย.2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/03/16978

Li Y, Zhang X, Winkelman JW, Redline S, Hu FB, Stampfer M, et al. Association between insomnia symptoms and mortality: a prospective study of US men. Circulation 2014; 129(7):737-46.

Tubtimtes S, Sukying C, Prueksaritanond S. Sleep problems in out-patient of primary care unit. J Med Assoc Thai 2009; 92(2):273-8.

Farazdaq H, Andrades M, Nanji K. Insomnia and its correlates among elderly patients presenting to family medicine clinics at an academic center. Malays Fam Physician 2018; 13(3):12-9.

Zheng W, Luo X-N, Li H-Y, Ke X-Y, Dai Q, Zhang C-J, et al. Prevalence of insomnia symptoms and their associated factors in patients treated in outpatient clinics of four general hospitals in Guangzhou, China. BMC Psychiatry 2018;18(1):1-7.

Dong X, Wang Y, Chen Y, Wang X, Zhu J, Wang N, et al. Poor sleep quality and influencing factors among rural adults in Deqing, China. Sleep & breathing 2018; 22(4):1213-20.

Methipisit T, Mungthin M, Saengwanitch S, Ruangkana P, Chinwarun Y, Ruangkanchanasetr P, et al. The development of sleep questionnaires Thai version (ESS, SA-SDQ, and PSQI): linguistic validation, reliability analysis and cut-off level to determine sleep related problems in Thai population. J Med Assoc Thai 2016; 99(8): 893-903.

Moreno C, Santos JLF, Lebrão ML, Ulhôa M, Duarte Y. Sleep disturbances in older adults are associated to female sex, pain and urinary incontinence. Rev Bras Epidemiol 2019; 21(SUPPL2):e180018. doi: 10.1590/1980-549720180018.supl.2.

Urry E, Landolt H-P. Adenosine, caffeine, and performance: from cognitive neuroscience of sleep to sleep pharmacogenetics. Curr Top Behav Neurosci 2014; 25:331-66.

Chaudhary NS, Grandner MA, Jackson NJ, Chakravorty S. Caffeine consumption, insomnia, and sleep duration: results from a nationally representative sample. Nutrition 2016; 32(11-12): 1193–9.

Ohayon MM, Krystal A, Roehrs TA, Roth T, Vitiello MV. Using difficulty resuming sleep to define nocturnal awakenings. Sleep Med 2010;11(3):236-41.

Pedraza S, Al Snih S, Ottenbacher KJ, Markides KS, Raji MA. Sleep quality and sleep problems in Mexican Americans aged 75 and older. Aging Clin Exp Res 2012; 24:391–7.

Nanthakwang N, Siviroj P, Matanasarawoot A, Sapbamrer R, Lerttrakarnnon P, Awiphan R. Prevalence and associated factors of cognitive impairment and poor sleep quality among community-dwelling older adults in Northern Thailand. TOPHJ 2020; 13: 815-22.

Jarrin DC, Alvaro PK, Bouchard MA, Jarrin SD, Drake CL, Morin CM. Insomnia and hypertension: a systematic review. Sleep Med Rev 2018; 41:3-38.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

วิธีการอ้างอิง

สุริย์ กัมปนาท, สุนันท์ศิริกูล กุลนิดา, และ ต้นสุวรรณ์ กิตติยารัตน์. 2021. “คุณภาพของการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุชุมชนเขตเมืองจังหวัดนครสวรรค์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (1). Nakhonsawan Thailand:15. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/11514.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)