รูปแบบการบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุและปัจจัยที่ทำนายการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ จุลปานนท์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด, การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษารูปแบบการบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ใน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุกับวิธีการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดและรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

วิธีการศึกษา :   ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุที่มีสัญญาณชีพคงที่ และได้รับการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564  จำนวน 183 คน โดยทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย และแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยรังสีแพทย์ท่านเดียว วิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบการบาดเจ็บช่องท้อง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด หรือรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด โดยใช้ Chi-square test และ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา    :    ผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (3.4:1) อายุเฉลี่ย 35.2 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 17.4 ปี ช่วงอายุที่พบมากสุดคือ 15-45 ปี ร้อยละ 60.6 สาเหตุที่พบมากที่สุดคืออุบัติเหตุจราจร ร้อยละ 84.7 ลักษณะความผิดปกติของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่พบมากที่สุดคือ เลือดออกในช่องท้อง (hemoperitoneum) ร้อยละ 73.8อวัยวะภายในช่องท้องที่บาดเจ็บมากที่สุดคือตับ ร้อยละ 34.4 รองลงมาคือไต ร้อยละ 14.8 ม้าม ร้อยละ 14.2 และการบาดเจ็บของลำไส้และเยื่อแขวนลำไส้ ร้อยละ 11.5 การบาดเจ็บของต่อมหมวกไต ตับอ่อน และกระเพาะปัสสาวะพบได้น้อย ผู้ป่วยส่วนมากรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด (non-operative management) ร้อยละ 78.7 เมื่อศึกษาความสัมพันธ์พบว่า การบาดเจ็บรุนแรงที่ม้าม (AAST grade IV-V) การบาดเจ็บที่ลำไส้และเยื่อแขวนลำไส้ (bowel and mesenteric injury) กระเพาะปัสสาวะแตกเข้าช่องท้อง (intraperitoneal bladder rupture) เลือดออกในช่องท้องปริมาณมาก (large hemoperitoneum) เลือดออกในท้องด้านหลัง (retroperitoneal hemorrhage) มีลมในช่องท้อง (pneumoperitoneum) สัมพันธ์กับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value น้อยกว่า 0.05) พบผู้ป่วยที่ผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องปกติเพียง ร้อยละ 10.4

สรุป          :   เอกซเรย์คอมพิวเตอร์มีประโยชน์ในการวินิจฉัยภาวะบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ สามารถบอกรายละเอียดการบาดเจ็บ ความรุนแรง พยากรณ์โรค รวมถึงวางแผนการรักษาได้ โดยการบาดเจ็บรุนแรงที่ม้าม (AAST grade IV-V) การบาดเจ็บที่ลำไส้และเยื่อแขวนลำไส้ กระเพาะปัสสาวะแตกเข้าช่องท้อง เลือดออกในช่องท้องปริมาณมาก เลือดออกในท้องด้านหลัง และมีลมในช่องท้อง สัมพันธ์กับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

คำสำคัญ     :   การบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

เอกสารอ้างอิง

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

Richards JR, McGahan JP. Focused assessment with sonography in trauma (FAST) in 2017: what radiologists can learn. Radiology 2017;283(1):30-48.

Rokhan B, Nadeem M, Abbas S, Iqbal M, Akbar F. Determine the pattern of blunt abdominal injuries by CT scan. Int J radiol Radiat Ther 2021;8(2):56-9.

Arumugam S, Al-Hassani A, El-Menyar A, Abdelrahman H, Parchani A, Peralta R, et al. Frequency, causes and pattern of abdominal trauma: a 4-year descriptive analysis. J Emerg Trauma Shock 2015;8:193-8.

Jayant V, Kurrey LK, Kumar S, Sharma P, Nayak A, Ghaharwar A. Role of computed tomography in the evaluation of blunt injury abdomen. IJSS Journal of Surgery 2017;3(3):34-9.

Gong J, Mei D, Yang M, Xu J, Zhou Y. Emergency CT of blunt abdominal trauma: experience from a large urban hospital in Southern China. Quant imaging Med Surg 2017;7(4):461-8.

Bates DD, Wasserman M, Malek A, Gorantla V, Anderson SW, Soto JA, et al. Multidetector CT of surgically proven blunt bowel and mesenteric injury. Radiographics 2017;37(2):613-25.

Daly KP, Ho CP, Persson DL, Gay SB. Traumatic retroperitoneal injuries: review of multidetector CT findings. Radiographics 2008;28(6):1571-90.

Ajmal R, Mansoor MA, Nasir S. Patterns of various injuries in blunt abdominal trauma in patients secondary to road traffic accident and fall presented to a tertiary care hospital-A CT scan bases study from Liaquat National Hospital, Karachi. PJR 2018;28(2):138-44.

Soto JA, Anderson SW. Multidetector CT of blunt abdominal trauma. Radiology 2012;265(3):678-93.

Coccolini F, Coimbra R, Ordonez C, Kluger Y, Vega F, Moore EE, et al. Liver trauma: WSES 2020 guidelines. World J Emerg Surg 2020;15(1):1-15.

Coccolini F, Montori G, Catena F, Kluger Y, Biffl W, Moore EE, et al. Splenic trauma: WSES classification and guidelines for adult and pediatric patients. World J Emerg Surg 2017;12(1):1-26.

Mehta N, Babu S, Venugopal K. An experience with blunt abdominal trauma: evaluation, management and outcome. Clin Pract 2014;4(2):34-7.

Friedman J, Bianco B. Ct Imaging and interventional radiology in solid organ injury. J Am Osteopath Coll Radiol 2019;8(3):5-12.

Goedecke M, Kühn F, Stratos I, Vasan R, Pertschy A, Klar E. No need for surgery? patterns and outcomes of blunt abdominal trauma. Innov Surg Sci 2019;4(3):100-7.

Radin R, Chan L, Demetriades D. Nonoperative treatment of blunt injury to solid abdominal organs: a prospective study. Arch Surg 2003;138(8):844-51.

Salottolo K, Madayag RM, O'Brien M, Yon J, Tanner A, Topham A, et al. Quantity of hemoperitoneum is associated with need for intervention in patients with stable blunt splenic injury. Trauma Surg Acute Care Open 2020;5:e000406. doi: 10.1136/tsaco-2019-000406.

Petrone P, Álvarez CM, Cartagena L, Ali F, Brathwaite CE. Approach and management of traumatic retroperitoneal injuries. Cir Esp (Engl Ed). 2018;96(5):250-9.

Shin SS, Jeong YY, Chung TW, Yoon W, Kang HK, Kang TW, et al. The sentinel clot sign: a useful CT finding for the evaluation of intraperitoneal bladder rupture following blunt trauma. Korean J Radiol. 2007;8(6):492-7.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-07-22

วิธีการอ้างอิง

จุลปานนท์ อรวรรณ. 2022. “รูปแบบการบาดเจ็บช่องท้องชนิดไม่มีแผลทะลุและปัจจัยที่ทำนายการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดโดยใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (3). Nakhonsawan Thailand:183. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/11810.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)