การพัฒนาระบบการพยาบาลภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดทารกแรกเกิด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลที่เกิดจากการนำไปใช้ของระบบการพยาบาลภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และ โรงพยาบาลเครือข่าย จังหวัดนครสวรรค์
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยและพัฒนา ศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง เดือนพฤษภาคม 2565 ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบการพยาบาลฯ 3) ประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพ 2) สหสาขาวิชาชีพ 3) มารดาตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงคลอดทารกติดเชื้อในกระแสเลือด 4) ทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อในกระแสเลือด กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นก่อนการพัฒนาระบบ 33 คน หลังการพัฒนาระบบ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการพยาบาลฯ 2) แบบประเมินภาวะติดเชื้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจมารดา 4) แบบทดสอบความรู้ของมารดา 5) แบบประเมินสมรรถนะพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ t-test
ผลการศึกษา : ระบบการพยาบาลฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การสร้างระบบส่งต่อมารดาตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและทารกติดเชื้อ 2) โครงสร้างพยาบาลผู้ประสานงาน 3) สมรรถนะการพยาบาลเฉพาะทาง 4) แนวปฏิบัติ คู่มือ 5) การมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ ผลลัพธ์การพัฒนาพบว่า การเสียชีวิตของทารก การเกิดภาวะติดเชื้อที่รุนแรง หลังการใช้ระบบการพยาบาลฯ แตกต่างจากก่อนการใช้ระบบการพยาบาลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)
สรุป : ระบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ทำให้มารดาตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงและทารกติดเชื้อเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว ได้รับการวินิจฉัย การรักษาพยาบาลในเวลาที่เหมาะสม ลดความรุนแรงการติดเชื้อและลดอัตราตายทารกแรกเกิด ควรนำระบบนี้ไปใช้ในระดับเขตสุขภาพ
คำสำคัญ : ระบบการพยาบาล, ทารกติดเชื้อในกระแสเลือด
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 เขต3 และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.