การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองแตกที่มีภาวะเลือดออก ใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วิไล สุรสาคร โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

หลอดเลือดสมองโป่งพอง, เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง, ภาวะหลอดเลือดสมองหดเกร็ง

บทคัดย่อ

         โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองเป็นภาวะวิกฤติทางระบบประสาทที่มีความซับซ้อนและรุนแรง    เนื่องจากเมื่อหลอดเลือดในสมองที่โป่งพองเกิดการแตก เลือดจะออกมาจากหลอดเลือดแดงเข้าสู่ใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางซึ่งสร้างผลกระทบกับสมองได้มาก ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตหรือพิการสูง การเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ให้การช่วยเหลือที่รวดเร็ว และปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลได้อย่างถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน จะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน หรือลดผลกระทบจากภาวะแทรกซ้อนให้น้อยลง สามารถฟื้นฟูสภาพและกลับบ้านไปอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ในการศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองแตกที่มีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย เป็นเพศชายอายุ 52 ปี ที่มีภาวะเลือดออกซ้ำหลังผ่าตัด และหลอดเลือดสมองหดเกร็ง ทำให้สมองขาดเลือดในระยะหลัง และเพศหญิงอายุ 46 ปี มีภาวะแทรกซ้อนติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแผลผ่าตัด ผลการศึกษาพบว่าการดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการพยาบาลในด้านการประเมินติดตามอาการทางระบบประสาทอย่างใกล้ชิด การเฝ้าระวังภาวะเลือดออกซ้ำ การดูแลหลังผ่าตัดหนีบหลอดเลือด และการดูแลเพื่อป้องกันภาวะหดเกร็งของหลอดเลือด ตลอดจนการส่งเสริมฟื้นฟูสภาพ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

เอกสารอ้างอิง

Sacco RL, Kasner SE, Broderick JP, Caplan LR, Culebras A, Elkind MS, et al. An updated definition of stroke for the 21st century: a statement for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2013;44(7):2064-89.

Veldeman M, Höllig A, Clusmann H, Stevanovic A, Rossaint R, Coburn M. Delayed cerebral ischaemia prevention and treatment after aneurysmal subarachnoid haemorrhage: a systematic review. Brit J Anaesth 2016;117(1):17-40.

Hughes JD, Bond KM, Mekary RA, Dewan MC, Rattani A, Baticulon R, et al. Estimating the global incidence of aneurysmal subarachnoid hemorrhage: a systematic review for central nervous system vascular lesions and meta-analysis of ruptured aneurysms. World Neurosurg 2018 ;115:430-47.

Shah KB, Shrestha S, Jaiswal SK, Qian LB, Kui CL. Aneurysm clipping and outcome for Hunt & Hess grade 4, 5 subarachnoid hemorrhage - a literature review. OJMN 2018; 8(2):215-32. DOI: 10.4236/ojmn.2018.82018

Kouwrobtum S. Management of unruptured intracranial aneurysm. In: Pasutharnchart N, Chutineth O, Charnarong N, editors. Basic and clinical neuroscience. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2013. p.170-82. (In Thai)

Larsen CC, Astrup J. Rebleeding after aneurysmal subarachnoid hemorrhage: a literature review. World Neurosurg. 2013 Feb;79(2):307-12.

Inagawa T. Risk factors for cerebral vasospasm following aneurysmal subarachnoid hemorrhage: a review of the literature. World Neurosurg 2016;85:56-76.

Hockel K, Diedler J, Steiner J, Birkenhauer U, Danz S, Ernemann U, et al. Long-term, continuous intra-arterial Nimotop treatment of severe vasospasm after aneurysmal subarachnoid hemorrhage. World Neurosurg 2016; 88:104-12.

Vivancos J, Gilo F, Frutos R, Maestre J, García-Pastor A, Quintana F, et al. Clinical

management guidelines for subarachnoid haemorrhage: diagnosis and treatment. Neurología (English Edition) 2014; 29(6): 353-70.

Connolly ES Jr, Rabinstein AA, Carhuapoma JR, Derdeyn CP, Dion J, Higashida RT, et al. Guidelines for the management of aneurismal subarachnoid hemorrhage: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/ American Stroke Association. Stroke 2012;43(6):1711- 37.

World Health Organization. Global status report on noncommunicable diseases 2014. Geneva, Switzerland: Printed Switzerland; 2014.

Satirapanya C, Sathiranya P, TraiChan C. Prevalence of risk factors for stroke and depression after stroke in Phatthalung Province: cross-sectional study. Songkhla Nakarin Vejsarn Journal 2014; 32(5): 275-82.

Puthawong W, Kittipichai W, Silawan T, Monsawaengsup C. Cerebrovascular disease risk factors among hypertensive patients in Phayao Province. Journal of Public Health 2014; 44(1):30-45. (in Thai).

Ou C, Chen Y, Wang S, Mo J, Hu W. Case report delayed symptomatic vasospasm after clipping of an unruptured intracranial aneurysm: case report and literature review. Int J Clin Exp Med 2017;10(6):9697-703.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-06

วิธีการอ้างอิง

สุรสาคร วิไล. 2022. “การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองแตกที่มีภาวะเลือดออก ใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง: กรณีศึกษา 2 ราย”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 19 (3). Nakhonsawan Thailand:222. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/12313.

ฉบับ

บท

รายงานผู้ป่วย (Case Report)