วิธีปฏิบัติเพื่อลดการติดเชื้อในผู้ป่วยผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิดภายนอก : ประสบการณ์จากโรงพยาบาลอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พิชญ์เยนทร์ อุดม โรงพยาบาลอุทัยธานี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิดภายนอก, ภาวะติดเชื้อในสมอง

บทคัดย่อ

บทนำ : การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิด ภายนอก (external ventricular drainage ; EVD ) เป็น หัตถการพื้นฐานในการรักษาผู้ป่วยด้านศัลยกรรมประสาท โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมองร่วมกับเลือดออกในโพรงสมองด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่พบในผู้ป่วยที่ได้รับ การผ่าตัดนี้ ได้แก่ การเกิดภาวะติดเชื้อในสมอง การสร้างแนวทางเวชปฏิบัติที่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนนี้ ยังคงเป็นหัวข้อที่ศัลยแพทย์ทั่วโลกให้ความสนใจ


วัตถุประสงค์ : เพื่อแสดงแนวทางการปฏิบัติ ที่ช่วยลดอัตราติดเชื้อในสมอง ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิดภายนอก ในโรงพยาบาลอุทัยธานี


วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 64 รายที่เข้ารับการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิดภายนอก ในโรงพยาบาลอุทัยธานี ระหว่าง สิงหาคม 2563 ถึง กันยายน 2565 และได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดด้วยเทคนิคเพื่อลดการติดเชื้อ และกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับการค้นหาจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในสมองหลัง การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมอง


ผลการศึกษา : กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดตามแนวปฏิบัติเพื่อ ลดการติดเชื้อ จำนวน 31 รายพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 18 รายคิดเป็นร้อยละ 50.0 อายุเฉลี่ย 62.7±12.1 ปี ร้อยละ 90.3 มีภาวะ Hemorrhagic stroke ปริมาณของเลือดที่พบ ICH volume เฉลี่ย 32.7±32.6 IVH grading (Graeb score เฉลี่ย 7.1±2.7 GCS วันที่ admit (เฉลี่ย) 9.5±3.0 และ GCS วันที่ กลับบ้าน (เฉลี่ย) 10.4± 4.2 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดตามแนวปฏิบัติเพื่อลดการติดเชื้อ และกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบปกติ พบว่า ปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ในตึกวิกฤติ ในกลุ่มการผ่าตัดตามแนวปฏิบัติเพื่อลดการติดเชื้อค่าเฉลี่ยการรักษาตัวใน ตึกวิกฤต 14.5±11.6 วัน ในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบปกติ ค่าเฉลี่ยการรักษาตัวในตึกวิกฤต 7.8±8.4 (p-value <0.01) ภาวะติดเชื้อในสมองหลังผ่าตัดพบว่าในกลุ่มการผ่าตัดตามแนวปฏิบัติเพื่อลดการติดเชื้อพบภาวะติดเชื้อ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.2 และใน กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบปกติพบภาวการณ์ติดเชื้อ 9 รายคิดเป็นร้อยละ 27.3 (p-value<0.01) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงพหุตัวแปร (Multiple logistic regression) พบว่า กลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบลดการติดเชื้อสามารถลดการเกิด การติดเชื้อได้ถึง 0.09 เท่าหรือ 91% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Adjust odd ratio=0.09; 95% Confidence Interval: 0.01-0.9 p-value 0.04)


สรุป : วิธีปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยซึ่งได้รับการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิดภายนอกที่ทำการศึกษาใน โรงพยาบาลอุทัยธานีนี้ สามารถช่วยลดอัตราการติดเชื้อในสมองจากการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำได้


คำสำคัญ : การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิดภายนอก , ภาวะติดเชื้อในสมอง

เอกสารอ้างอิง

Adams RE, Diringer MN. Response to external ventricular drainage in spontaneous intracerebral hemorrhage with hydrocephalus. Neurology. 1998;50:519 –5

Ramanan M, Lipman J, Shorr A, Shankar A. A meta-analysis of ventriculostomy-associated cerebrospinal fluid infections. BMC Infect Dis. 2015; 15:1–12.

Lewis A, Wahlster S, Karinja S, Czeisler BM, Kimberly WT, Lord AS. Ventriculostomy-related infections : The performance of different definitions for diagnosing infection. Br J Neurosurg. 2016; 30:49–56.

Baum GR, Hooten KG, Lockney DT, Fargen KM, Turan N, Pradilla G, Murad GJA, Harbaugh RE, Glantz M. External ventricular drain practice variations : results from a nationwide survey. J Neurosurg. 2017 Nov;127(5):1190-1197.

Edlich RF, et al. Dangers of cornstarch powder on medical gloves: seeking a solution. Ann Plast Surg. 2009;63(1):111-115.

Van den Tol MP, et al. Glove powder promotes adhesion formation and facilitates tumour cell adhesion and growth. Br J Surg. 2001;88(9) : 1258-1263.

Tulipan N, Cleves MA. Effect of an intraoperative double-gloving strategy on the incidence of cerebrospinal fluid shunt infection. J Neurosurg. 2006; 104(1 Suppl):5–8.

Van de Beek D, Drake JM, Tunkel AR. Nosocomial bacterial meningitis. N Engl J Med. 2010;362(2) : 146–154.

Lozier AP, Sciacca RR, Romagnoli MF, et al. Ventriculostomy-related infections: A critical review of the literature. Neurosurgery. 2002;51 (1):170–182.

Mounier R, Lobo D, Cook F, Martin M, Attias A, Aït-Mamar B, et al. From the Skin to the Brain: Pathophysiology of Colonization and Infection of External Ventricular Drain, a Prospective Observational Study. PLoS ONE 2015 ; 10(11): 1-15.

ประดิษฐ์ ไชยบุตร. บทสรุปเรื่องภาวะวิกฤตด้านศัลยกรรมระบบประสาท ในประเทศไทย.วารสารประสาทศัลยศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564 : 93-98. นฤภัค รัศมียูงทอง , กุลพัฒน์ วีรสาร. ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเตียงหอผู้ป่วยวิกฤติประสาท ศัลยศาสตร์ตอัตรา การตายในโรคหลอดเลือดสมองแตก ในโรงพยาบาลศูนย์ในประเทศไทย.วารสารประสาทศัลยศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2564 : 93-9

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-08

วิธีการอ้างอิง

อุดม พิชญ์เยนทร์. 2023. “วิธีปฏิบัติเพื่อลดการติดเชื้อในผู้ป่วยผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองชนิดภายนอก : ประสบการณ์จากโรงพยาบาลอุทัยธานี”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 20 (4). Nakhonsawan Thailand:202-9. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/13005.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)