การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ธาลัสซีเมียที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ สแวนสัน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ภรภัทร สนองคุณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • ณชพัฒน์ จีนหลักร้อย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ธาลัสซีเมีย, คู่เสี่ยง, การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด

บทคัดย่อ

     โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ เป็นการตั้งครรภ์เสี่ยงหากสามีมียีนที่ผิดปกติทั้งคู่ก็จะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติร่วมกันไปสู่ลูกทำให้บุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศนโยบายกำหนดให้หญิงมีครรภ์ทุกรายได้รับคำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ได้รับการคัดกรองโดยสมัครใจและการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหญิงตั้งครรภ์ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและเป็นคู่เสี่ยงที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการพยาบาลตามแนวคิดการดูแลอย่างเอื้ออาทรของสแวนสัน ผลการศึกษา พบว่า สตรีตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นโรคธาลัสซีเมีย ชนิด Suspected β0 thalassemia/ Hb E  or Hb E with or without  α -thalassemia 1 สามีคู่เสี่ยงธาลัสซีเมียเป็นชนิด Homozygous Hb E with or without α-thalassemia จึงเป็นคู่เสี่ยงมีโอกาสเกิดบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ได้รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการวินิจฉัยทารกในครรภ์โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งผลการตรวจน้ำคร่ำสรุปว่าทารกในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิด Homozygous Hb E โดยขณะที่มารับบริการฝากครรภ์ได้รับการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของสแวนสัน พบว่า หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม มาตรวจครรภ์ตามนัดและร่วมกันวางแผนครอบครัวหลังคลอดบุตร ด้านจิตใจความวิตกกังวลลดลงและสามารถตั้งครรภ์ต่อได้โดยได้รับคำแนะนำและการพยาบาลตามกระบวนการในแต่ละระยะของการมาฝากครรภ์

     ดังนั้น พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกฝากครรภ์จึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และสามี ซึ่งควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหรือพาหะธาลัสซีเมีย มีทักษะการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์และปฏิบัติการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรแก่หญิงตั้งครรภ์และสามีในแต่ละระยะของการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด

คำสำคัญ: หญิงตั้งครรภ์, ธาลัสซีเมีย, คู่เสี่ยง, การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด

เอกสารอ้างอิง

จิตสุดา บัวขาว. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป [อินเทอร์เนต]. นนทบุรี :สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.biogenetech.co.th/wp-content/uploads /2018/01/Guidelines-for-thalassemia-care.pdf

Sirichotiyakul S, Jatavan P, Traisrisilp K, Tongsong T. Pregnancy Outcomes Among Women with Homozygous Hemoglobin E Disease: A Retrospective Cohort Study. Maternal and Child Health Journal [Internet]. 2016 Nov 1 [cited 2024 Jan 7];20(11):2367–71. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27456306/

Lao TT. Obstetric care for women with thalassemia. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol. 2017;39:89-100. doi:10.1016/j.bpobgyn.2016.09.002

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข [อินเทอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/download/?did=210292&id=94595&reload=

Chuenwattana P, Yusamran C. Invasive Prenatal Diagnosis of Thalassemia: Principle and Nursing Care. NURS SCI J THAIL [Internet]. 2017 Oct. 1 [cited 2024 Jan. 9];35(3):4-13. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/115542

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, สุพัตรา ศิริโชติยะกุล. การควบคุมโรค ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงด้วยวิธีก่อนคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.

สภาพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 97 ง. วันที่ 18 เมษายน 2562 หน้า 37. [อินเทอร์เนต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/A222.PDF

Swanson KM. Empirical development of a middle range theory of caring. Nursing Research [Internet]. 1991;40(3):161–6. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2030995/

Tuida K. The Study on the Potential Incidence of Severe Thalassemia among Children Born to at-risk Partner of pregnant woman, Antenatal Care Clinic, Long Hospital, Phrae Province. Journal of Phrae Public Health for Development. [Internet]. 2565 [cited 2024 Jan 7];2(2):1–10. Available from: https://thaidj.org/index.php/jpphd/article/view/13314

ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, นิสากร กรุงไกรเพชร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการตรวจคัดกรองโรคของสามีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา [อินเตอร์เนต]. 2017 [เข้าถึงเมื่อ 9 มกราคม 2567];25(3):89–100. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/101430

Ding Y, Xu X, Wang Z, Li H, Wang W. The relation of infant attachment to attachment and cognitive and behavioural outcomes in early childhood. Early Human Development. 2014 Sep;90(9):459–64.

Tongsong T, Wanapirak C, Sirivatanapa P, Sanguansermsri T, Sirichotiyakul S, Piyamongkol W,et al.Prenatal control of severe thalassemia: Chiang Mai strategy. Prenat Diagn. 2000;20(3):229-34.

Petrakos G, Andriopoulos P, Tsironi M. Pregnancy in women with thalassemia: challenges and solutions. Int J Womens Health 2016;8:441-51.

ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2565.

Laohachaiaroon P, Pongsuthirak P, Nakariyakul B, Kayankit T. Prevalence and Factors Affecting Postpartum Depression in Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital. JOURNAL OF THE MEDICAL ASSOCIATION OF THAILAND [Internet]. 2022 Jul 1 [cited 2024 Jan 9] ;105(7):589–93. Available from: http://www.jmatonline.com/index.php/jmat/article/view/13332

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

วิธีการอ้างอิง

สนองคุณ ภรภัทร, และ จีนหลักร้อย ณชพัฒน์. 2024. “การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ธาลัสซีเมียที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ สแวนสัน: กรณีศึกษา”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (3). Nakhonsawan Thailand:213-21. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/14958.

ฉบับ

บท

รายงานผู้ป่วย (Case Report)