ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับ การรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทระยะยาว ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • รัตติกร ถึงสุข โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

พังผืดในตับ, ยาเมโธเทรกเซท, โรคสะเก็ดเงิน, วัดความยืดหยุ่นของตับ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เป็นที่ทราบกันดีว่ายาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) มีความสัมพันธ์กับการเกิดพังผืดในตับ อย่างไรก็ตามบางการศึกษาพบว่ายาเมโธเทรกเซท อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักของการเกิดพังผืดตับในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ โดยเฉพาะโรคประจำตัวของผู้ป่วย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ที่ส่งผลให้เกิดภาวะพังผืด ในตับ ในปัจจุบันเราสามารถตรวจพังผืดตับ ด้วยวิธี Transient Elastography (TE) ซึ่งเป็นการตรวจแบบใหม่ สะดวกปลอดภัย ทำซ้ำได้ ในราคาที่เหมาะสม และมีความแม่นยำสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของพังผืดในตับระยะรุนแรงที่ประเมินด้วยวิธี TE และปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับการรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทเป็นระยะเวลายาว มากกว่า 6 เดือน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบตัดขวางดำเนินการ ระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2565 ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ขณะทำการศึกษามีผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับการรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทระยะยาวมากกว่า 6 เดือน ทั้งสิ้น 272 ราย โดยวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะผู้ป่วยและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง และกำหนดค่า TE ≥7.9 kPa. เป็นภาวะพังผืดในตับระยะรุนแรง

ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 272 ราย โดยผู้ป่วย 59 ราย มีภาวะพังผืดในตับระยะรุนแรง พบว่าปัจจัยดังต่อไปนี้ ได้แก่ ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป (ร้อยละ 44.1 เทียบกับ ร้อยละ 14.6, p-value< 0.01) ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 59.3 เทียบกับ ร้อยละ 23.9, p-value<0.01) ไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 40.7 เทียบกับ ร้อยละ 23.5, p-value<0.01) และโรคเบาหวาน (ร้อยละ 32.2 เทียบกับ ร้อยละ 9.4, p-value<0.01) สัมพันธ์กับกลุ่มที่มีพังผืดในตับระยะรุนแรง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีพังผืดในตับระยะรุนแรง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ขนาดยาสะสม และระยะเวลาของการใช้ยาเมโธเทรกเซท เพศ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลับไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง และจากการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร พบว่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ (Adjusted OR = 5.51, 3.32 และ 3.02 ตามลำดับ, p-value<0.01)

สรุป: ในการศึกษานี้ ขนาดยาสะสม และระยะเวลาของการใช้ยาเมโธเทรกเซท ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรงในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน มีบทบาทสำคัญในการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยแนะนำให้ตรวจพังผืดในตับด้วยวิธี Transient Elastography ก่อนการรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป อย่างไรก็ตามอาจต้องการศึกษาที่มีประชากรมากกว่าเพื่อยืนยันผลการศึกษา

คำสำคัญ: พังผืดในตับ, ยาเมโธเทรกเซท, โรคสะเก็ดเงิน, วัดความยืดหยุ่นของตับ

เอกสารอ้างอิง

Rendon A, Schakel K. Psoriasis Pathogenesis and Treatment. Int J Mol Sci. 2019;20(6).

Christophers E. Psoriasis--epidemiology and clinical spectrum. Clin Exp Dermatol. 2001;26(4):314-20.

Ortonne J, Chimenti S, Luger T, Puig L, Reid F, Trueb RM. Scalp psoriasis: European consensus on grading and treatment algorithm. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2009;23(12):1435-44.

Mehta NN, Yu Y, Saboury B, Foroughi N, Krishnamoorthy P, Raper A, et al. Systemic and vascular inflammation in patients with moderate to severe psoriasis as measured by [18F]-fluorodeoxyglucose positron emission tomography-computed tomography (FDG -PET/CT): a pilot study. Arch Dermatol. 2011;147(9) :1031-9.

Coates LC, Helliwell PS. Methotrexate Efficacy in the Tight Control in Psoriatic Arthritis Study. J Rheumatol. 2016;43(2):356-61.

Jo SJ, Baek YS, Kim TG, Jeong KH, Kim JE, Choi YS, et al. Basic Therapeutic Approach for Patients with Plaque Psoriasis: Korean Expert Consensus Using the Modified Delphi Method. Ann Dermatol. 2023;35(3):173-82.

Gossec L, Baraliakos X, Kerschbaumer A, de Wit M, McInnes I, Dougados M, et al. EULAR recommendations for the management of psoriatic arthritis with pharmacological therapies: 2019 update. Ann Rheum Dis. 2020;79(6):700-12.

Bichenapally S, Khachatryan V, Muazzam A, Hamal C, Velugoti L, Tabowei G, et al. Risk of Liver Fibrosis in Methotrexate-Treated Patients: A Systematic Review. Cureus. 2022;14(10):e30910.

Roenigk HH, Jr., Auerbach R, Maibach H, Weinstein G, Lebwohl M. Methotrexate in psoriasis: consensus conference. J Am Acad Dermatol. 1998;38(3) :478-85.

Atallah E, Grove JI, Crooks C, Burden-Teh E, Abhishek A, Moreea S, et al. Risk of liver fibrosis associated with long-term methotrexate therapy may be overestimated. J Hepatol. 2023;78(5):989-97.

Menter A, Gelfand JM, Connor C, Armstrong AW, Cordoro KM, Davis DMR, et al. Joint American Academy of Dermatology-National Psoriasis Foundation guidelines of care for the management of psoriasis with systemic nonbiologic therapies. J Am Acad Dermatol. 2020;82(6):1445-86.

Zachariae H. Have methotrexate-induced liver fibrosis and cirrhosis become rare? A matter for reappraisal of routine liver biopsies. Dermatology. 2005;211(4):307-8.

Pinyok Srisansanee TW. Liver Stiffness by Transient Elastography (FibroScan®) in Rheumatoid Arthritis Patients Treated with Methotrexate. Medical journal of Sisaket Surin Buriram hospital. 2020;35 (1):197-209.

Fleming KM, Aithal GP, Solaymani-Dodaran M, Card TR, West J. Incidence and prevalence of cirrhosis in the United Kingdom, 1992-2001: a general population-based study. J Hepatol. 2008;49(5):732-8.

Baba M, Furuya K, Bandou H, Kasai K, Sadaoka K. Discrimination of individuals in a general population at high-risk for alcoholic and non-alcoholic fatty liver disease based on liver stiffness: a cross section study. BMC Gastroenterol. 2011;11:70.

Rosenberg P, Urwitz H, Johannesson A, Ros AM, Lindholm J, Kinnman N, Hultcrantz R. Psoriasis patients with diabetes type 2 are at high risk of developing liver fibrosis during methotrexate treatment. J Hepatol. 2007;46(6):1111-8.

Berends MA, Snoek J, de Jong EM, van de Kerkhof PC, van Oijen MG, van Krieken JH, Drenth JP. Liver injury in long-term methotrexate treatment in psoriasis is relatively infrequent. Aliment Pharmacol Ther. 2006;24(5):805-11.

Farrell GC, Wong VW, Chitturi S. NAFLD in Asia--as common and important as in the West. Nat Rev Gastroenterol Hepatol. 2013;10(5):307-18.

Langman G, Hall PM, Todd G. Role of non-alcoholic steatohepatitis in methotrexate-induced liver injury. J Gastroenterol Hepatol. 2001;16(12):1395-401.

Cheng HS, Rademaker M. Monitoring methotrexate -induced liver fibrosis in patients with psoriasis : utility of transient elastography. Psoriasis (Auckl). 2018;8:21-9.

Arena U, Stasi C, Mannoni A, Benucci M, Maddali-Bongi S, Cammelli D, et al. Liver stiffness correlates with methotrexate cumulative dose in patients with rheumatoid arthritis. Dig Liver Dis. 2012;44(2):149-53.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-25

วิธีการอ้างอิง

ถึงสุข รัตติกร. 2024. “ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับ การรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทระยะยาว ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (1). Nakhonsawan Thailand:48-54. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15044.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)