อัตราการเกิด และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดไข้จากภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินที่ต้องรักษาตัว ในโรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ, ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินบทคัดย่อ
ที่มา: การรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตรCHOPร่วมกับ แอนตี้ซีดี 20 (Rituximab) ปัจจุบันได้รับคำแนะนำให้มีการใช้ ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว (GCSF) เพื่อป้องกันการเกิดไข้จากเม็ดเลือดขาว นิวโทรฟิลต่ำ โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอัตราการเกิดไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวหลังจากยาเคมีบำบัดสูตร CHOP และ R CHOP
วิธีการศึกษา: เป็นวิธีการศึกษาภาคตัดขวางแบบย้อนหลัง ของผู้ป่วยที่รับการวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินในโรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่าง 1 ม.ค. 2559 – 1 ม.ค. 2567 โดยรวบรวมข้อมูลทางคลินิกของตัวโรค การได้รับแอนตี้ซีดี 20 และ ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว อัตราในการเกิดไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ เพื่อมาวิเคราะห์ปัจจัย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา 242 คน ได้รับยา กระตุ้นเม็ดเลือดขาวเพื่อป้องกันแบบปฐมภูมิร้อยละ 97 อัตราการเกิดไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ ร้อยละ 24.7(60/242) ในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับแอนตี้ซีดี 20 ไม่แตกต่างกัน การศึกษาแบบพหุตัวแปรพบว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำได้แก่ การมีโรคร่วม Odd Ratio 2.27 (95% CI : 1.07-4.84, p-value=0.033) และอัลบูมินในเลือดต่ำ Odd ratio 2.57 (95% CI 1.24-5.33, p-value=0.011)
สรุป: อัตราการเกิดไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินสูตร CHOP ไม่เพิ่มในกลุ่มที่ ได้รับแอนตี้ซีดี 20 แต่ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวร่วม และอัลบูมินในเลือดต่ำพบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มในการเกิดไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ
คำสำคัญ: ไข้จากเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ, ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน
เอกสารอ้างอิง
คณะอนุกรรมการปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติสําหรับการวินิจฉัยและรักษา โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง.การจัดทําแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำหลือง.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการวินิจฉัยและรักษา โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง.2022 [เข้าถึงเมื่อ 2024 Feb 28] ;1:2-4 เข้าถึงได้จาก: https://www.tsh.or.th/file_upload/files/Lymphoma%20Guideline%202022.pdf
Prayoonwiwat W, Srichaikul T. Clinicopathological analysis of malignant lymphoma study in 100 cases from Pramongkutklao hospital. Intern Med 1986;2: 193-200.
Rice L, Jung M. Neutrophillic Leucocytosis, Neutropenia, Monocytosis, and Monocytopenia. In: Hoffman R, Edward J. Benz J, Silerstein LE, Heslop HF, Weitz JI, Anastasi J, editors. Hematology Basic Principle and Practice. 1. Philadelphia: ELSEVIER SAUNDERS; 2013. p. 640-5.
Rieger M, Osterborg A, Pettengell R, White D, Gill D, Walewski J, et al. Primary mediastinal B-cell lymphoma treated with CHOP-like chemotherapy with or without rituximab: results of the Mabthera International Trial Group study. Ann Oncol 2011;22:664-70.
Zelenetz AD, Wierda WG, Abramson JS, Advani RH, Andreadis CB, Bartlett N, et al. Non-Hodgkin’s lymphomas, version 1.2013. J Natl Compr Canc Netw 2013;11:257-72; quiz 73.
Intragumtornchai T, Sutheesophon J, Sutcharitchan P, Swasdikul D. A predictive model for life-threatening neutropenia and febrile neutropenia after the first course of CHOP chemotherapy in patients with aggressive non-Hodgkin’s lymphoma. Leuk Lymphoma 2000;37:351-60.
Jittima P, Ponlapat R. High Incidence of Febrile Neutropenia in Non-Hodgkin Lymphoma Patients Receiving CHOP Chemotherapy Despite G-CSF Prophylaxis . J Hematol Transfus Med 2017;27:45-55.
คณะอนุกรรมการจัดทำการให้คำแนะนำในการรักษาและป้องกันภาวะไข้ในผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่มีเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลล์ต่ำ.คำแนะนำในการรักษาและป้องกันภาวะไข้ในผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่มีเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลล์ต่ำ พ.ศ. 2567.2024 [เข้าถึงเมื่อ 2024 Mar 27] ;1: 1-30 เข้าถึงได้จาก:https://www.tsh.or.th/file_upload/files/FN%20guidance%202024.pdf
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.