การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดมดลูกแบบผ่าตัดผ่านกล้องและผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง : ประสบการณ์ 10 ปี
คำสำคัญ:
การผ่าตัดมดลูก, การผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง, การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้องบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดมดลูกแบบผ่าตัดผ่านกล้องและผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง
วิธีการศึกษา: การศึกษาชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบเก็บข้อมูลย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดมดลูกด้วยการผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องหรือการผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 121 ราย แบ่งเป็นผ่าตัดมดลูกแบบผ่าตัดผ่านกล้อง 60 ราย ผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง 61 ราย อายุเฉลี่ย 46.02±9.89 ปี ระดับฮีโมโกลบินลดลงกลุ่มผ่าตัดเปิดหน้าท้องสูงกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Median=11.4, IQR 9.1-11.8 g/dl และ Median =10, IQR 5.9-11.4 g/dl, p-value=0.002) ปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องสูงกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Median=200, IQR 100-300 ml และ Median 50, IQR 20-125 ml, p-value<0.001) แต่ระยะเวลาการผ่าตัด น้ำหนักชิ้นเนื้อ และระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล ความปวดหลังผ่าตัดไม่แตกต่างกัน
สรุป: การผ่าตัดมดลูกแบบผ่านกล้องมีปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัดน้อย และมีความปลอดภัยจึงเป็นทางเลือกของการผ่าตัดรักษาโรคทางนรีเวช อย่างไรก็ตามระยะการผ่าตัด ระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลไม่แตกต่างกัน ดังนั้นควรให้ข้อมูลข้อดีข้อเสียประกอบการตัดสินใจของผู้ป่วย
คำสำคัญ: การผ่าตัดมดลูก, การผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง, การผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง
เอกสารอ้างอิง
Leksomboon R. Reviewing anatomy and physiology of the female reproductive system to understand the mechanism of pregnancy prevention. Journal of Ubon Ratchathani university. 2009;11(2):25-37.
Balakrishnan D, Dibyajyoti G. A comparison between non-descent vaginal hysterectomy and total abdominal hysterectomy. Journal of clinical and diagnostic research: JCDR. 2016;10(1):QC11.
Ruangcharoen P. Abdominal hysterectomy [online]. [cited 2022 June 22]. Available from: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6074/.
Ekanayake C, Pathmeswaran A, Kularatna S, Herath R, Wijesinghe P. Cost evaluation, quality of life and pelvic organ function of three approaches to hysterectomy for benign uterine conditions: study protocol for a randomized controlled trial. Trials. 2017;18(1):1-10.
Lefebvre G, Allaire C, Jeffrey J, Vilos G. RETIRED: No. 109-Hysterectomy. Journal of Obstetrics and Gynaecology Canada. 2018;40(7):e567-e79.
Babu SA. Te Linde’s Operative Gynecology: Wolters Kluwer India Pvt. Ltd.; 2021.
Chaisilpwatana P. Laparoscopic Surgery in gynecology. In: Kunatikom S, Teerasakwittaya S, Propong P, editors. gynecology. Bangkok: P.A. Living; 1999. p. 491-97.
Sucharipong P, Chaisilpwatana P. Laparoscopic Surgery in gynecology. In: Wongthiraporn W, Rattanachaiyanon M, Benjapiban M, Ruangkajon I, editors. Gynecology. Bangkok: P.A. Living; 2011. p. 279-94.
Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, Buchner A. G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods. 2007;39(2):175-91.
Uwais A, Al-Abadleh A, Jahameh M, Satari A, Al-Hawamdeh Q, Haddadin S. A Comparison between Total Abdominal Hysterectomy versus Total Laparoscopic Hysterectomy. Gynecology and Minimally Invasive Therapy. 2023:10.4103.
Farooq R, Posh S. Total Abdominal Hysterectomy Versus Total Laparoscopic Hysterectomy. A Hospital Based Study. JK Science: Journal of Medical Education & Research. 2023;25(2):82-6.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.