ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในเด็กโรคปอดอักเสบโรงพยาบาลตาคลี

ผู้แต่ง

  • ธานัติยา อรุโณทอง โรงพยาบาลตาคลี

คำสำคัญ:

High flow nasal cannula (HFNC), เด็ก, โรคปอดอักเสบ, ปัจจัยที่มีผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ

วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบรวบรวมย้อนหลังในผู้ป่วยอายุ 1 เดือน ถึง 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปอดอักเสบและรักษานอนในโรงพยาบาลตาคลีระหว่างเดือนมกราคม 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 493 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล รายงานผลข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายทางรังสีทรวงอก ผลการรักษา และวิเคราะห์หาปัจจัยหรือลักษณะของผู้ป่วยที่มีผลต่อการใช้ HFNC ในการรักษา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบเป็นเพศชายร้อยละ 55.8 ค่ามัธยฐานของอายุ 3 ปี (IQR 1.5-4.8 ปี) และค่ามัธยฐานของน้ำหนัก 14 กิโลกรัม (IQR 10.1-18.4 กิโลกรัม) ใช้ HFNC ในการรักษาร้อยละ 29.6 มีอัตราการล้มเหลวใส่ท่อช่วยหายใจในเด็กที่ใช้ HFNC ร้อยละ 9.6 และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ HFNC ได้แก่ อายุเด็กน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี ระยะเวลาที่มีอาการน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน สัญญาณชีพแรกรับมีอัตราการหายใจเกินเกณฑ์อายุ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SpO2) แรกรับน้อยกว่า 92%

สรุป: การใช้ HFNC ในเด็กโรคปอดอักเสบที่มีอาการรุนแรงช่วยทำให้อัตราการหายใจลดลง ลดความเหนื่อยและลดการใส่ท่อช่วยหายใจ ควรมีการให้ความรู้กับทีมผู้ดูแลเด็กและเฝ้าระวังในเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงการใช้ HFNC เพื่อช่วยลดการเกิดโรคปอดอักเสบที่รุนแรงมากขึ้น

คำสำคัญ: High flow nasal cannula (HFNC), เด็ก, โรคปอดอักเสบ, ปัจจัยที่มีผล

เอกสารอ้างอิง

สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, มกราคม 2562.

World health organization (WHO). Pneumonia in children [Internet]; November 2022. [cited 2023 November 17]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/pneumonia.

HDC กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง ServicePlan สาขาแม่และเด็ก อัตราป่วยตายโรคปอดบวมในเด็กไทยอายุ 1 เดือนถึง 5 ปี บริบูรณ์ลดลงร้อยละ 10 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=3dc2d92087cdc5b585eb8c0904691399&id=7e5ba3f0ff6590f168f967a3f355914a.

งานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.นครสวรรค์. สรุปรายงานสถานการณ์โรค Pneumonitis Pneumonia [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.114.24/epimis/epidemic66.php?dis=31.

Dean P. and Florin TA. Factors Associated With Pneumonia Severity in Children: A systematic review. JPID 2018;7:323-34.

นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย. การรักษาทางคลินิกด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง (Clinical use of high flow oxygen therapy). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิล; กุมภาพันธ์ 2565.

Milési C.,et,al. High-flow nasal cannula: recommendations for daily practice in pediatrics. Annals of intensive care 2014;4:29.

สญุมพร ชอบธรรม และพรมนัส พันธุ์สุจริตไทย. ผลกระทบทางคลินิกของการใช้ออกซิเจนเสริมชนิดอัตราการไหลสูงต่อการรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในโรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562; 58:88-94.

Vareesunthorn I., Preutthipan A. Modified High‐Flow Nasal Cannula in Young Children with Pneumonia: A 3‐year Retrospective Study. Pediatric Respirology and Critical Care Medicine 2018;2:45-50.

Ante-Ardila N., et,al. Use of high-flow cannula in pediatric patients with respiratory failure: A prospective cohort study in three high-altitude hospitals. Health Sci Rep 2023;6:4:1182.

อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562;58:3:175-81.

Sunkonkit K., Kungsuwan S., Seetaboot S and Reungrongrat S. Factors associated with failure of using high flow nasal cannula in children. Clin Respir J 2022;16:732–9.

ศุภัคษร พิมพ์จันทร์. ผลการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากด้วยการใช้เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตรา การไหลสูงในโรงพยาบาลหนองบัวแดง. ชัยภูมิเวชสาร 2565; 42:1:47-54.

Champatiray J, Satapathy J, Kashyap B, Mondal D. Clinico-aetiological study of severe and very severe pneumonia in two months to five years children in a Tertiary Health Care Centre in Odisha, India. J Clin Diagn Res 2017;11:SC06–10.

นุชรดา สามพายวรกิจ. ประสิทธิผลของการใช้ High flow nasal canula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบากโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. วารสารโรงพยาบาลหนองคาย; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www2.nkh.go.th/nkh/journal/article.php?id=32.

สินทรา ผู้มีธรรม. ปัจจัยที่มีผลต่อจำนวนวันนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคปอดอักเสบ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2565; 39:4: 421-28.

ยุวดี คงนก. เปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างและมีภาวะหายใจลำบากด้วยการให้ High flow nasal cannula กับการรักษาด้วยออกซิเจนมาตรฐาน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564;10:5.

อัจจิมาวดี พงศ์ดารา. ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2562;58:3:175-81.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-09

วิธีการอ้างอิง

อรุโณทอง ธานัติยา. 2024. “ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในเด็กโรคปอดอักเสบโรงพยาบาลตาคลี”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 21 (4). Nakhonsawan Thailand. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/15606.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)