การประเมินอายุกระดูกของเด็กไทยที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์โดยวิธีของ Greulich and Pyle : Bone Age Assessment by Greulich and Pyle Method in Thai Children at Sawanpracharak Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการประเมินอายุกระดูกของเด็กไทยด้วยวิธีของ Greulich and Pyle
สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
กลุ่มตัวอย่าง : ภาพเอกซเรย์มือและข้อมือเด็กและวัยรุ่นไทย อายุ 2 เดือน ถึง17 ปี ที่มาตรวจในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และแผนก
ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ในเดือนมกราคม 2560 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 96 คน
วิธีการศึกษา : ประเมินอายุกระดูกด้วยวิธี Greulich and Pyle จากภาพเอกซเรย์มือและข้อมือและวิเคราะห์ความถูกต้องเทียบกับอายุจริง
เป็นผลต่างเฉลี่ยที่ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
ผลการศึกษา : อายุกระดูกน้อยกว่าอายุจริงในช่วงอายุ 3 - 5 ปี แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.034) และเมื่อเปรียบเทียบแยกตาม
เพศ พบว่า ในเพศชายช่วงอายุ 3 - 5 ปี และ 6 - 8 ปี อายุกระดูกน้อยกว่าอายุจริง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(P=0.028 และ P=0.030) ส่วนในเพศหญิงช่วงอายุ 12 - 14 ปี อายุกระดูกมากกว่าอายุจริง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ (P<0.001)
วิจารณ์และสรุป : การประเมินอายุกระดูกของเด็กที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ในภาพรวมทั้งหญิงและชาย ยังสามารถใช้วิธีของ
Greulich and Pyle ได้ถูกต้อง แต่พึงตระหนักว่าอายุกระดูกที่ประเมินได้น้อยกว่าอายุจริงในเพศชายช่วงอายุ 3 - 5 ปี และ
6 - 8 ปี และอายุกระดูกที่ประเมินได้มากกว่าอายุจริงในเพศหญิงช่วงอายุ 12 - 14 ปี
คำสำคัญ : อายุกระดูก, วิธี Greulich and Pyle, เด็กไทย
Abstract
Object : Determining whether the Greulich and Pyle method still capable of bone age assessment in Thai
children.
Setting : Sawanpracharak hospital.
Design : Retrospective descriptive study.
Subject : The images of wrist joints and hand of 96 Thai children, aged 2 months to 17 years, visiting the
emergency and outpatient departments during January 2017 - February 2018.
Method : The mean age difference, their standard deviation and 95% confidence interval (CI) were
calculated.
Result : Statistical significance of delayed bone ages of all patients (males and females combined),
chronological age was more than bone age (P=0.034) for aged 3 - 5 years. The separate gender
analysis also showed statistical significance of delayed bone ages for male patients, chronological
age was more than bone age (P=0.028 and P=0.030) for aged 3 - 5 and 6 - 8 years. The statistical
significance of advanced bone ages for female patients, chronological age was less than bone age
(P<0.001) for aged 12 - 14 years.
Conclusion : Bone age assessment by Greulich and Pyle method in Thai children at Sawanpracharak hospital
can be used correctly in both males and females. However, it is important to recognize delayed
bone ages for male patients, between 3 - 5 and 6 - 8 years of age with advanced bone ages for
12 - 14 year - old female patients.
Key words : bone age, Greulich and Pyle method, Thai children