บทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลหาดใหญ่ : The Role of Clinical Pharmacist in Outpatient HIV Clinic in Hatyai Hospital
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ในด้านอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
สถานที่ศึกษา : คลินิกผู้ป่วยนอกเฉพาะทางเอชไอวี
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มารับการรักษาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน กันยายน 2558 จำนวน 3,053 ราย อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปและได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีต่อเนื่องมากกว่า 2 ครั้ง
วิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
ผลการศึกษา : พบว่าเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug reaction : ADR) 287 ราย จำแนกเป็น ADR type A (side effect) 234 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.5 และ ADR type B (drug allergy) 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.5 และพบความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย 39 ราย เภสัชกรได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกับแพทย์โดยให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยและมีการปรับสูตรยาหรือปรับขนาดยาสำเร็จ ผู้ป่วยสามารถใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีต่อได้ จำนวน 286 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.6
วิจารณ์และสรุป : การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการให้ความรู้ ข้อมูลที่สำคัญของยาต้านไวรัส การปฏิบัติตนระหว่างการใช้ยา การเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หรือปฏิกิริยาจากยาสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาได้
คำสำคัญ : ยาต้านไวรัส อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา
Abstract
Objective : To study the effectiveness of pharmacist role in pharmaceutical care in Human Immunodeficiency virus (HIV) infected patients with who have adverse antiretroviral drug reaction and low patient adherence to medication.
Setting : Out patients HIV clinic
Design : Retrospective descriptive study
Subjects : 3,053 patients with Human Immunodeficiency virus (HIV) Infection, in Hatyai Hospital, 16 year-old or older who were treated with two consecutive courses of antiretroviral drug during October 2014 to September 2015
Method : The data on adverse reaction of the drug and non-adherence to the medication were collected before and after providing pharmaceutical care.
Results : There were 287 cases of adverse drug reactions classified as ADR type A 234 cases (81.5 %) and ADR type B 53 cases (18.5 %). Medication non-adherence appeared in 39 cases. Pharmacists took role in solving problems in pharmaceutical care: working in association with doctor in providing pharmacist counseling, dosage adjustment, changing of the prescribed drugs, or drug switching. 286 patients (99.6%) continued taking the medicine.
Conclusion : Pharmacists counseling can significantly improve both patient medication knowledge and adherence. Providing pharmaceutical care by pharmacist on antiretroviral drugs and adverse drug reactions surveillance are important to prevent and solve drug therapy problems.
Key words : Antiretroviral drugs, Adverse drug reaction, Medication non-adherence