ผลการรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากในโรงพยาบาลอุทัยธานี : Outcome of Infant with Very Low Birth Weight Care in Uthaithani Hospital

ผู้แต่ง

  • Suthida Phawattanakul

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์        :    เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิก ผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน และภาวะทุพพลภาพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากที่ได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลอุทัยธานี

สถานที่ศึกษา    :   หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 (ทารกวิกฤตและเด็กป่วย) โรงพยาบาลอุทัยธานี

รูปแบบการวิจัย :   การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง

กลุ่มตัวอย่าง     :   ทารกแรกเกิดที่คลอดน้ำหนักตัวน้อยมาก (น้อยกว่า 1,500 กรัม) ที่ได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลอุทัยธานี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 จำนวน 140 ราย

วิธีการศึกษา     :   เก็บข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก และนำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัย

ผลการศึกษา    :   ในระยะเวลา 5 ปี มีทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก จำนวน 140 ราย พบว่าเป็นเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1:1 น้ำหนักตัวแรกคลอดเฉลี่ย 1,155.8±237.1 กรัม อายุครรภ์เฉลี่ย 30.5±2.9 สัปดาห์ โอกาสรอดชีวิตของทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม และน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม คิดเป็นร้อยละ 65.7 และร้อยละ 31.7 โดยพบว่า กลุ่มน้ำหนักตัวน้อยกว่า 751 กรัม 751-1,000 กรัม 1,001-1,250 และ 1,251-1,499 กรัม มีโอกาสรอดชีวิตร้อยละ 0, 43.3, 74.3 และ 83.3 ตามลำดับ     โดยมีภาวะ respiratory distress syndrome (RDS) เป็นภาวะแทรกซ้อนและสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด รองลงมาคือภาวะขาดออกซิเจน (birth asphyxia) ทารกที่รอดชีวิต 92 ราย พบภาวะทุพพลภาพ 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.2 โดยพบภาวะ broncho pulmonary dysplasia                    (BPD) และภาวะ retinopathy of prematurity (ROP) มากที่สุด

สรุป              :         โอกาสการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากจะแปรผันตาม น้ำหนักแรกเกิด อายุครรภ์แรกเกิด ค่าคะแนน Apgar ที่ 1 และ 5 นาที และอุณหภูมิกายแรกรับ ภาวะแทรกซ้อนและ         สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญคือภาวะ RDS และ birth asphyxia ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพการรักษาตั้งแต่การฝากครรภ์ให้มีประสิทธิภาพ ลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด พัฒนาประสิทธิภาพ    การดูแลผู้ป่วย RDS รวมถึง อบรมบุคลากรในการช่วยฟื้นคืนชีพให้แก่ทารก จะทำให้โอกาสรอดชีวิตของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากเพิ่มขึ้น

 คำสำคัญ        :   ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก ผลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน ทุพพลภาพ  

 

Abstract

 

Objective          :  To study the clinical features of very low birth weight infant (VLBW), and outcome, complication and morbidity of VLBW infant care at Uthaithani Hospital

Setting                 :   Uthaithani Hospital, Uthaithani

Design             :  Retrospective descriptive study

Subjects            :  All VLBW infant admitted to the neonatal intensive care unit, Uthaithani Hospital between January 1st, 2010 and June 30th, 2015 with exclusion of except severe anormaly infant or prior cardiopulmonary arrest before admission.

Method             :   Inpatient record were analyzed by descriptive statistic Information from (frequency, percentage, mean, standard deviation, median and range.)

Result             :  In 5 years period, 140 VLBW infant records were reviewed. Male : female were 1:1, birth weight 1,155±237 grams, gestational age 30.47±2.92 week. Over all survival rate were 65.7 % for VLBW infant and 31.7% for extremely low birth weight (ELBW) infant. Survival rate of birth weight < 751 gram, 751-1,000 gram, 1,001-1,250 gram and 1,251-1,499 gram were 0%, 43.3%, 74.3% and 83.3%, respectively. The first and second most complication and cause of death were respiratory distress syndrome (RDS) and birth asphyxia respectively. Of 92 infants who survive, 27.2% had morbidity 25. The most common morbidity in this study were broncho pulmonary dysplasia (BPD) and retinopathy of prematurity (ROP).

Conclusion        :   In this study survival rate of VLBW infant vary according to birth weight, gestational age, Apgar score at 1, 5 mins, and birth temperature. The most common complications and cause of death were RDS and birth asphyxia. The results of this study provide preliminary informations for improving health care system for very low birth weight infant (antenatal care, reduce birth rate of preterm infant, RDS care and   neonatal resuscitation care)

Keywords               :  Very low birth weight infant, Outcome, Complication, Morbidity

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-24

วิธีการอ้างอิง

Phawattanakul, Suthida. 2017. “ผลการรักษาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากในโรงพยาบาลอุทัยธานี : Outcome of Infant With Very Low Birth Weight Care in Uthaithani Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 13 (3). Nakhonsawan Thailand:24-35. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/594.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)