ฝีในตับในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : Liver Abscess in Sawanpracharak Hospital

ผู้แต่ง

  • Worawit Chotiwarangkul

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์         :   เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของชนิดของฝีในตับ ลักษณะทั่วไป ลักษณะทางคลินิก เชื้อที่เป็นสาเหตุ อัตราการเสียชีวิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ของอาชีพ กลุ่มอายุ และระยะเวลานอนโรงพยาบาลกับชนิดของฝีในตับ

สถานที่ศึกษา        :   แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการศึกษา   :   การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง

กลุ่มตัวอย่าง        :   ผู้ป่วยฝีในตับทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาในแผนกอายุรกรรม และมีข้อมูลใน    เวชระเบียน ระหว่างปี 2552 ถึง 2558 รวม 202 คน

วิธีการศึกษา         :   รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยได้แก่ ข้อมูลด้านบุคคล ลักษณะทางคลินิก ผลตรวจ อัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การได้ยาปฏิชีวนะก่อนมารักษา ผลการตรวจพบเชื้อสาเหตุจากหนองและหรือเลือด ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และผลการรักษา เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ กลุ่มอายุ และชนิดของฝีในตับกับการเสียชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างการได้ยาปฏิชีวนะก่อนมารักษากับการตรวจพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ ด้วยสถิติ Chi-Square เปรียบเทียบความแตกต่างอายุผู้ป่วยกับชนิดของฝีในตับด้วยสถิติ One way-Anova (scheffe) และเปรียบเทียบระยะเวลานอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยกับชนิดของฝีในตับด้วยสถิติ  Kruskal-Wallis Test

ผลการศึกษา         :   ในช่วงที่ศึกษา 7 ปี พบอัตราอุบัติการณ์ ฝี other pyogenic ร้อยละ 0.033-0.063 ฝี melioidosis ร้อยละ 0.002-0.016 และฝี amoebic ร้อยละ 0.002-0.011 จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย 201 คนพบเป็นต่างด้าว 10 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.7 อายุเฉลี่ย 55.8 ± 16.1 ปี อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 47.8 และเกษตรกรรม ร้อยละ 24.9 ภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ร้อยละ 88.1 อยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 90.6 เป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อ ร้อยละ 61.2 ผู้ป่วยฝี other pyogenic ได้ยาปฏิชีวนะก่อนมารักษา ร้อยละ 79.9 อาการที่พบบ่อยคือ


                                 ไข้ หนาวสั่น รองลงมา คือ ปวดใต้ชายโครงขวาบน ส่วนใหญ่มีอาการก่อนมาน้อยกว่า 1 สัปดาห์ อาการแสดงที่พบบ่อย ได้แก่ กดเจ็บหน้าท้อง (abdominal tenderness) และตับโต (hepatomegaly) ผู้ป่วยฝี amoebic และฝี other pyogenic ส่วนใหญ่เป็นฝีก้อนเดี่ยวอยู่บริเวณกลีบตับขวา ขนาดมากกว่า 5 เซนติเมตร ผู้ป่วยฝี melioidosis ส่วนใหญ่เป็น multiple small abscesses กระจายอยู่บริเวณกลีบตับทั้ง 2 ข้าง ขนาดเล็กกว่า 5 เซนติเมตร และพบ splenic abscess ร่วมด้วย ร้อยละ 25.9 ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มมีอัตราติดสุราสูงโดยเฉพาะกลุ่มฝี amoebic โรคหรือภาวะร่วมที่พบบ่อยในผู้ป่วยฝี melioidosis และฝี other pyogenic คือ anemia รองลงมาคือ เบาหวาน ผู้ป่วยฝี melioidosis พบเป็นโรคเลือดและ thalassemia สูงกว่ากลุ่มอื่น ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย คือ sepsis, splenic abscess และ pneumonia ผู้ป่วยฝี other pyogenic พบ sepsis และ acute renal failure ได้บ่อย ผู้ป่วยฝี other pyogenic 149 คน ได้ยาปฏิชีวนะก่อนมารักษา 119 คน (ร้อยละ79.9) ผลการเพาะเชื้อจากหนองและหรือเลือดผู้ป่วยทั้ง 149 คน พบเชื้อ 86 คน (ร้อยละ 57.7) โดยพบเชื้อ Klebsiella pneumonia ร้อยละ 42.9 Escherichia coli ร้อยละ 15.3 ผู้ป่วยฝี melioidosis พบเชื้อ Burkholderia Pseudomallei ร้อยละ 29.6 อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยฝี melioidosis ร้อยละ 25.9 ผู้ป่วย ฝี other pyogenic ร้อยละ 9.3 ไม่พบผู้ป่วยฝี amoebic เสียชีวิต ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการได้ยาปฏิชีวนะก่อนมารักษากับการตรวจพบเชื้อในหนองและหรือเลือด เพศและกลุ่มอายุไม่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วย แต่ชนิดของฝีในตับมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.007) และพบว่าชนิดของฝีในตับมีความสัมพันธ์กับอาชีพ กลุ่มอายุ และระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยฝี melioidosis มีอาชีพเกษตรกรรมมากกว่ากลุ่มอื่น (p=0.002) ผู้ป่วยฝี amoebic มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยน้อยที่สุด 8.1 วัน(p=0.018) และผู้ป่วยฝี other pyogenic มีอายุมากสุดเฉลี่ย 58 ปี (p=0.002)

วิจารณ์และสรุป     :   ผู้ป่วยฝี amoebic อุบัติการณ์ต่ำกว่าการศึกษาในอดีต ผู้ป่วยฝี melioidosis มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก สำหรับผู้ป่วยฝี other pyogenic พบอุบัติการณ์สูงกว่าการศึกษาอื่น และมีแนวโน้มสูงขึ้น ผู้ป่วยฝี melioidosis และฝี other pyogenic มักมีโรคร่วมและมีอัตราการเกิด sepsis สูง ทำให้มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานและมีอัตราตายสูง ดังนั้น การดูแลรักษาผู้ป่วยฝีในตับกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังคือกลุ่มที่มีภาวะซีด เบาหวาน โรคเลือด และธาลัสซีเมีย โรคเกี่ยวกับตับและทางเดินน้ำดี ผู้ติดสุรา กลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป และกลุ่มเกษตรกรและหากแนวโน้มผู้ป่วยเบาหวานสูงขึ้นควรพิจารณาถึงแนวโน้มผู้ป่วย melioidosis และฝี other pyogenic ที่อาจสูงขึ้นด้วย

คำสำคัญ             :   ฝีในตับ, ฝีในตับในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์


Abstract

 

Objective          :   To study incidence of different types of liver abscess, individual factor, clinical characteristic, causative organisms and factors contributed to mortality of patients, and correlation between different types of liver abscess and occupation, age, length of hospital stay.

Setting              :   Department of Medicine, Sawanpracharak hospital, Nakhon Sawan.

Design              :   Retrospective study methods

Subjects           :   All patients diagnosed of liver abscesses that were admitted in Sawanpracharak hospital during October 2009 – September 2015, with total 202 cases

Methods           :   The following data were collected from medical recorded: individual factor, clinical characteristic, ultrasound or CT scan finding, preadmission-antibiotic and discharge from abscess and/or blood culture result, length of stay in hospital, and result of treatment. To study correlation between mortality of liver abscess patients with gender, age group, types of abscess and preadmission-antibiotic administration and positive culture results using Chi-Square test.  And to study difference between age and types of liver abscess using One way-Anova (scheffe), and difference between length of stay in hospital and types of abscess of patients by Kruskal - Wallis Test.

  Results           :   During 7 years period, incidence rate of melioidosis liver abscess 0.002-0.016%, amoebic liver abscess 0.002-0.011%, and other pyogenic liver abscess was 0.033-0.063%. Of 201 cases of patients analyzed (10 Burmese immigrants included), 68.7% males, average age 55.8 ± 16.1 years age, 47.8% contractors and 24.9% farmers. 88.1% of patients live in Nakhon Sawan province. Most of the patients live in urban (90.6%). 61.2% was referral cases. Preadmission-antibiotic administration rate in other pyogenic liver abscess were 79.9%). Common clinical signs and symptoms of all types of liver abscess were epigastric or right upper quadrant abdominal pain and tenderness, hepatomegaly. In most of the cases, duration of signs and symptoms were less than 1 week. In amoebic and other pyogenic group, single abscesses larger than 5 cm in right lobe of liver were presented in most cases. In melioidosis group there were small and multiple abscess involving both lobes of liver and splenic abscesses were founded in 25.9% of the cases. In every group of patients there was had high rate of alcohol dependency, especially in amoebic group. Two common conditions of melioidosis and other pyogenic groups were coexisting anemia and DM. There were higher rate of blood disease an


                          thalassemia in melioidosis group than the others. The complications in melioidosis group were predominately sepsis, splenic abscess and pneumonia, and in other pyogenic group were sepsis, acute renal failure. In 119 of 149 of other pyogenic patients (79.9%) had preadmission-antibiotic. Positive culture results from abscesses and/or blood were 86 case (57.7%), and causative pathogens were Klebsiella pneumonia 42.9%, Escherichia coli 15.3%. In melioidosis group, Burkholderia Pseudomallei was seen 29.6%. The mortality rate of melioidosis was 25.9% and 9.3% in other pyogenic patients, but none case in amoebic patients. There was no correlation between preadmission-antibiotic administration and positive culture and no correlation between gender, age group and mortality rate of patients, but there were statistically significant correlation between 3 types of abscess with the mortality rate of patients (p=0.007). However, there was statistically significant correlation between 3 types of abscess with occupation, age, and length days in hospital. Incidence of melioidosis was high in farmers (p=0.002). The shortest average length of stay was in amoebic patients (8.1 days, p=0.018), and the highest average age was in other pyogenic group (58 years, p=0.002).

Conclusion        :   Incidence of amoebic liver abscess was lower than in other studies in the past. Melioidosis liver abscess was lower than northeastern part of Thailand. Incidence of other pyogenic liver abscess was higher than other studies. Melioidosis and other pyogenic liver abscess patients usually had underlying or associated diseases; sepsis was the most common complications causing longer length of hospital stay and high rate of mortality. Therefore, patients with anemia, DM., blood disease and thalassemia hepato-biliary disease, alcohol dependent, 50 years and older, and farmers should be under surveillance. With the tendency of higher incidence of DM. have been in crease, the likelihood of liver abscess may also be increased in the future.

Keywords          :   Liver abscess, Liver abscess in Sawanpracharak Hospita

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)