ประสิทธิผลและปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดโดยใช้ รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรมแบบประยุกต์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์; The Effectiveness and Factors Affecting the Modified Matrix Program On Drug Addicts of Sawanpracharak Hospital
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลและปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดโดยใช้รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรมแบบประยุกต์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
สถานที่ศึกษา : กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง
กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยที่มารับการบำบัดรักษาครั้งแรกและบำบัดครบโปรแกรมตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2555 ถึง 30 มกราคม 2561 จำนวน 117 คน
วิธีการศึกษา : รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบรายงาน ระบบติดตามและการเฝ้าระวังปัญหา
ยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลการบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติด ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการใช้สารเสพติด และผลการติดตามหลังจบการบำบัด วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการใช้สารเสพติด และประสิทธิผลการบำบัดรักษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของการบำบัดด้วยสถิติ Chi-square หรือ Fisher’s Exact Test
ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยหยุดเสพที่ 3 เดือน หลังครบการบำบัดร้อยละ 76.9 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบำบัดรักษา คือ การบำบัดรักษาแบบสมัครใจ (P=0.038)
วิจารณ์และสรุป : การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดโดยใช้รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรมแบบประยุกต์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มีประสิทธิผล จึงควรประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการบำบัดรักษาแบบสมัครใจของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์เพื่อเพิ่มโอกาสในการหยุดเสพสารเสพติด
คำสำคัญ : ประสิทธิผล การบำบัดความคิดและพฤติกรรมแบบประยุกต์ ผู้ติดยาและสารเสพติด
Abstract
Objective : To study the effectiveness and factors relating to the Modified Matrix Program on drug addicts at Sawanpracharak Hospital.
Setting : Department of Psychiatry and Drug Dependence, Sawanpracharak Hospital
Design : Retrospective descriptive study
Subjects : 117 drug addicts who received the first treatment during the period from July 1, 2012 to January 30, 2018 and completed the treatment program.
Method : This study collected data from the drug treatment network of ministry of public health. The research tool was a drug treatment questionnaire consisting of personal information, drug information usage and follow-up results. Personal data, drug use and the effectiveness of the program were analyzed by using descriptive statistics. The factors related to the effectiveness of the program was analyzed by Chi-square or Fisher’s Exact Test.
Results : During the period from July 1, 2012 to January 30, 2018. 418 drug addicts received the first treatment and 117 people completed the treatment program, representing 27.9%. The effectiveness of the program revealed 76.9% of subjects quit taking the drug at the third month. Voluntarily joining the program (P=0.038) was factor, which related to the effectiveness of the program.
Conclusion : The Modified Matrix Program on drug addicts at Sawanpracharak Hospital was effective. Therefore, there should be a campaign to increase voluntary joining the program of Sawanpracharak Hospital to increase the opportunity to quit drugs.
Keywords : Effectiveness, Modified Matrix Program, Drug addicts