คุณภาพของระบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ในจังหวัดนครสวรรค์ : Quality of Fast Track Service System for Acute Ischemic Stroke Patients in Nakhonsawan Province

ผู้แต่ง

  • Napajaree Tanasang

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์         :   ศึกษาสถานการณ์และผลลัพธ์ของระบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือด
สมองตีบเฉียบพลันในจังหวัดนครสวรรค์

สถานที่ศึกษา        :   แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการศึกษา   :   การวิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง

กลุ่มตัวอย่าง        :   ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันที่เข้ารับบริการระบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ในปี 2559 ถึง 2561 จำนวน 562, 534 และ 635 คน ตามลำดับ

วิธีการศึกษา         :   ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสังเกต และบันทึกการประชุมโดยผู้วิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากเวชระเบียนและแบบการบันทึกการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลลัพธ์ของระบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย

ผลการศึกษา         :   พบว่าจากการวิเคราะห์สถานการณ์ของระบบช่องทางด่วนผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ได้มีแนวทางการแก้ไขคือ  แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินสามารถสั่งให้ยาละลายลิ่มเลือดได้เองทั้งในและนอกเวลาราชการ การจัดกล่องยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) ไว้ที่ห้องฉุกเฉิน การให้เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลชุมชนช่วยนำผู้ป่วยที่ส่งตัวมาไปห้องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การลดระยะเวลารอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลอ่านเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การสอน (work shop) การบริหารยาละลายลิ่มเลือด และผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลชุมชน จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการให้ยาละลายลิ่มเลือดตั้งแต่อยู่ในรถพยาบาล สำหรับผลลัพธ์การให้บริการในปี 2559 ถึง 2561 พบว่า อัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 45 นาที เท่ากับร้อยละ 8.9, 12.4, และ 65.4 ตามลำดับ(เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 50) และอัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือดเท่ากับร้อยละ 3.6, 7.9, 12.9 ตามลำดับ (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 10)

วิจารณ์และสรุป     :   การพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้บรรลุเป้าหมายในครั้งนี้ เกิดจากการตั้งเป้า
หมายที่ท้าทายและชัดเจน ร่วมกับการให้ความสำคัญกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่ช่วยกันพัฒนาคุณภาพของระบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ให้เกิดคุณภาพมาตรฐาน มุ่งให้เกิดผลลัพธ์ในการดูแลที่ดี และผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุด

คำสำคัญ         :         ระบบช่องทางด่วน, ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน

 

Abstract

Object              :   To study the quality and outcome of Fast Track Service System for acute ischemic stroke patients in Nakhonsawan province

Setting              :   Emergency department of Sawanpracharak hospital, Nakhonsawan province, Thailand

Design              :   Qualitative research and Retrospective descriptive study

Subjects           :   All patients who were presented to the emergency department of Sawanpracharak hospital due to acute ischemic stroke from 2016 to 2018 (562, 534 and 635 cases per year, respectively)

Method            :   Reviewed the data from medical record and specific care form for acute ischemic stroke patients then assessed the quality of the fast track service system for acute ischemic stroke patient by using qualitative data analysis, frequency distribution and percentage

Results             :   To reach the goal of more than 50 percent of acute ischemic stroke patiente in Nakhonsawan province have received thrombolytic agent (rtPA) within 45 minutes needs.  First, allowed emergency physicians to decide whether to give the thrombolytic agent during both official and non official working hours. Second, stored the box set of thrombolytic agent in the emergency room. Third, allow the team from primary care hospital to take the patients directly to do CT.Brain scan. Fouth, reducd the waiting time for the result of laboratory and CT.Brain scan. Fifth, training administration of fibrinolytic drugs. Sixth, referral nurse informed patients about indications for fibrinolytic drug while in the ambulance. After following these strategies, the result showed the improvement rate of the patients who received the thrombolytic agent within 45 minutes from 2016 to 2018 was 8.9, 12.4 and 65.4 percent and the improvement rate of the patients who received rtPA was 3.6, 7.9 and 12.9 percent, respectively.

Conclusion        :   Clear and challenging goal is need together with well co-operation of the multidisciplinary care team helps improve the quality and outcomes of the fast track service System

Key words     :         Fast track, Acute ischemic stroke

ดาวน์โหลด

วิธีการอ้างอิง

Tanasang, Napajaree. 2019. “คุณภาพของระบบช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ในจังหวัดนครสวรรค์ : Quality of Fast Track Service System for Acute Ischemic Stroke Patients in Nakhonsawan Province”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 16 (2). Nakhonsawan Thailand:54-64. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/8185.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)