ผลสัมฤทธิ์ของการใช้แนวทางการสั่งใช้ Albumin กับผู้ป่วยใน กรณีศึกษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : The effective of Albumin Guideline Usage at In-Patients. Case Study in Sawanpracharak Hospital

ผู้แต่ง

  • วรวิทย์ ตั้งวิไล
  • นิศานุช วราโภค
  • พีรยศ ภมรศิลปธรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์             :  เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการใช้แนวทางการสั่งใช้อัลบูมิน        

สถานที่ศึกษา             :  หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

รูปแบบการวิจัย         :  การวิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบก่อนและหลังการมีแนวทางการสั่งใช้อัลบูมิน

กลุ่มตัวอย่าง              :  กลุ่มตัวอย่างก่อนการใช้แนวทางการสั่งใช้อัลบูมิน คือผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในทุกคนที่ได้รับอัลบูมิน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 297 คน กลุ่มตัวอย่างหลังการใช้แนวทางการสั่งใช้อัลบูมินคือ ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในทุกคนที่ได้รับอัลบูมิน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2562 จำนวน 224 คน

วิธีการศึกษา               :  พัฒนาแบบฟอร์มแนวทางการการสั่งใช้อัลบูมินร่วมกับแพทย์ทุกแผนกที่เกี่ยวข้อง และนำมาใช้ในหอผู้ป่วยใน เก็บข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลัง (retrospective drug use evaluation : DUE) จากโปรแกรม HosXP ในช่วงแรกก่อนวางระบบ และเก็บข้อมูลไปพร้อมขณะที่ผู้ป่วยได้รับยา (concurrent DUE) ในช่วงหลังจากวางระบบ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการใช้แนวทางการสั่งใช้อัลบูมิน จากความสมเหตุผลของการสั่งใช้อัลบูมินตามเกณฑ์ข้อบ่งใช้ ด้วยแบบประเมินความเหมาะสม และหาความสัมพันธ์ของการสั่งใช้อัลบูมินอย่างสมเหตุผลกับอาการทางคลินิกที่ดีขึ้น (clinical improve) ด้วยการทดสอบไคสแควร์ และเปรียบเทียบมูลค่าการสั่งซื้ออัลบูมินก่อนและหลังการวางระบบ

ผลการศึกษา              :  หลังวางระบบ การสั่งใช้อัลูมินอย่างสมเหตุผลและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) โดยพบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ มีผู้ป่วยที่ได้รับอัลบูมิน อย่างสมเหตุผล/ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกดีขึ้น (clinical improve) จำนวน 67/42 คน เดือนมีนาคม จำนวน 61/47 คน และเดือนเมษายน จำนวน 55/45คน ตามลำดับ มูลค่ายอดรวมการจัดซื้ออัลบูมิน ปีงบประมาณ 2561 มีการจัดซื้อ 4,528,106 บาท และปีงบประมาณ 2562 มีการจัดซื้อ 2,714,590 บาท การจัดซื้อมีมูลค่าลดลงร้อยละ 40.1

วิจารณ์และสรุป        :  ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการกำกับและติดตามโดยใช้แนวทางการสั่งใช้อัลบูมิน ตามนโยบายของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผลมากขึ้น มูลค่าการซื้อลดลง

คำสำคัญ                     :  การประเมินผล แนวทางการสั่งใช้อัลบูมิน  ความสมเหตุผลของการใช้ยา

Abstract

Objective                   :  To assess the achievement usage of albumin prescription guideline.

Setting                       :  Hospital wards at Sawanpracharak Hospital

Research design      :  Quasi-experimental research design compared pre- and post-exposed time to                                             implement the albumin prescription guideline

Samples                     :  Sample groups were devised into 2 groups. First, during October 1 – December 31, 2018, in patients who were medical ordered to take Albumin injection, totally 297 patients. Second, from February 1 to April 30, 2019, the latter with 224 patients were recorded as previous criteria.

Methods                    :  Developing albumin prescription guideline document with associated doctors who concern albumin in Hospital. In the first group, Retrospective Drug Use Evaluation (DUE) following the developed document were recorded and retrieved data from HosXP hospital information system. After implementing guideline, Concurrent DUE were recorded during work process. To assess the achievement, the evaluation was used following DUE criteria. Moreover, the clinical improvement of patient with DUE of albumin was tested by Chi-square. Finally, the cost of albumin order was compared between the 2 groups before and after implementing guideline.

Results                       :  The following albumin prescription guideline and clinical improvement were showed the association with statistical significant (p<0.01) in the latter group. Briefly, in February, patients who received albumin follow DUE criteria and clinical improvement were 67 and 42 patients. In March, were 61 and 47 and April were 55 and 45 patients, respectively. Procurement of albumin in year 2018 compared to the year 2019 was 4,528,106 and 2,714,590 baht. This showed the decrement cost about 40.1%

 

Summary and Discussion          :    The achievement of supervising and monitoring process by using the albumin prescription guideline according to the Pharmaceutical and Therapy Committee (PTC) has promoted a reasonable albumin prescription and the albumin reduction cost.

Key word                  :  Drug Use Evaluation of Albumin, Rational Drug Use

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-07

วิธีการอ้างอิง

ตั้งวิไล วรวิทย์, วราโภค นิศานุช, และ ภมรศิลปธรรม พีรยศ. 2020. “ผลสัมฤทธิ์ของการใช้แนวทางการสั่งใช้ Albumin กับผู้ป่วยใน กรณีศึกษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ : The Effective of Albumin Guideline Usage at In-Patients. Case Study in Sawanpracharak Hospital”. Region 3 Medical and Public Health Journal - วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 17 (1). Nakhonsawan Thailand:9-20. https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/8768.

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)