การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการผ่าตัดเท้าและมีโรคร่วม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุพิศ ประดู่ โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการผ่าตัดเท้าและมีโรคร่วม

บทคัดย่อ

การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการผ่าตัดเท้าและมีโรคร่วม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 รายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้ากรณีศึกษา 2 ราย  วิธีดําเนินงาน เป็นศึกษาเชิงพรรณนากรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า  2  รายที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยศึกษาประวัติผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ การวางแผนการพยาบาลตามแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน จากพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาพยาบาลแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลรวมถึงการวางแผนจําหน่ายผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทยอายุ 57 ปี สถานะสมาส อาชีพแม่บ้าน ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง BP = 130/ 80 mmHg หลังตัดเล็บโดนเนื้อบริเวณนิ้วเท้าที่ 4 ข้างซ้าย แผลเป็นสีดำมีหนอง แพทย์ให้ Amputated นิ้วที่ 4 ของเท้าซ้าย จากนั้นหลังจำหน่ายแพทย์นัดให้ล้างแผลทุกวัน ระดับนํ้าตาลไม่ปกติ FBS อยู่ในช่วง 170 - 280 mg/dl HbA1c = 8.5 แพทย์ปรับเพิ่มยา glipizide 1 tab oral ac เป็น glipizide 1 tab oral bid ac ระดับน้ำตาลในเลือดหลังปรับยาอยู่ในช่วง 170- 210  mg/dl ผู้ป่วยเข้าใจในสภาพแผลผ่าตัดนิ้วเท้าจากโรคเบาหวานตามการรับรู้จากแพทย์พยาบาลแนะนํามาทำแผลทุกวันอย่างต่อเนื่องแผลหายดีในระยะเวลา 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด กรณีศึกษารายที่ 2 หญิงไทยอายุ 68 ปี สถานะสมรส อาชีพทำสวน ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง BP = 140/ 90 mmHg มาพบแพทย์ด้วยมีแผลอักเสบ discharge สีเหลืองมีกลิ่น ที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้าด้านขวา ปวดแผลเล็กน้อย แพทย์ให้ตัดนิ้วเท้าด้านขวา เพื่อควบคุมภาวะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยยาแก้อักเสบ 3 วัน แผลดี ไม่บวมแดง มีอาการเท้าชาเป็นบางครั้ง จำหน่ายกลับบ้านนัดผู้ป่วยมารับการพยาบาลเพื่อรักษาแผลผ่าตัดนิ้วเท้าขวา อย่างต่อเนื่องแผลหายดีในระยะเวลา 1 สัปดาห์ สรุป : กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 รายมีความแตกต่างกันด้วยอายุและเศรษฐานะมีแผลที่ถูกตัดนิ้วเท้าแต่ต่างตำแหน่ง การให้พยาบาลควบคุมระดับน้ำตาลเหมือนกัน และให้การพยาบาลดูแลแผลที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้ง 2 ราย ส่งผลให้ผู้ป่วยคลายความกังวลมีความอดทนจนแผลดีขึ้นเป็นลำดับและสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

เอกสารอ้างอิง

ชลิดา อนุกูล. (2558). การดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีแผลที่เท้าโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี: ประสบการณ์ของ Entero–Stomal Therapist Nurse โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี; 21(1) :78-86.

ปภาดา มหัทธนะประดิษฐ์. (2560). ความรู้ในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานเขตพื้นที่อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร. 31(1): 520-525.

มนัสดา คํารินทร์. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม; 17 (1) (มกราคม - เมษายน): 139-148.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. กรมการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติ: การป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า (Clinical Practice Guideline: Prevention and management of Diabetic Foot Complications). กรุงเทพมหานคร: บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จํากัด.

สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. นนทบุรี.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่3. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดีย.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและ ดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

American Diabetes Association. (2022). Standards of medical care in diabetes-2022. Diabetes Care 2022; Suppl 1: S11-63.

International Diabetes Federation. (2023). Diabetes fact sheet. [cited 2024 December 1]. Available from: http:// www.idf.org/webdata /docs/Background_info_AFR. pdf.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง