ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดในโรงพยาบาลสิชล

ผู้แต่ง

  • พฤกษาภัทร คันธะ โรงพยาบาลสิชล
  • มณฑิรา ชาญณรงค์ โรงพยาบาลสิชล

คำสำคัญ:

ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย, การผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางหน้าท้อง, การผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางช่องคลอด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ (Retrospective Case control Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดในโรงพยาบาลสิชล โดยศึกษาในเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวนประชากรทุกราย (Census) จำนวน 232 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางหน้าท้อง จำนวน 206 ราย และกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางช่องคลอด 26 ราย โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่า CVI .93 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้ สถิติ independent t-test และFisher’s extract test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้งหมด มีอายุเฉลี่ย 49.43 ± 10.02 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 26.46 ± 4.84 kg/m2 มีประวัติการผ่าตัดในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน ร้อยละ 61.2 ประวัติการคลอดบุตร ร้อยละ 75 การวินิจฉัยโรค ที่พบมากที่สุด คือ Myoma uteri ร้อยละ 44.8 รองลงมาคือ Adenomyosis และ Prolapse uteri ร้อยละ 26.7 และ 11.2 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการผ่าตัดน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ร้อยละ 76.7 มีจำนวนเลือดที่สูญเสียน้อยกว่า 500 ซีซี ร้อยละ 83.6 การได้รับเลือดระหว่างผ่าตัด ร้อยละ 14.7 และมีการผ่าตัดร่วม ร้อยละ 78.4ด้านผลลัพธ์การดูแลรักษา พบว่า ผู้ป่วยมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.61 ± 3.67 วัน ประเภทการจำหน่ายแบบ improve ร้อยละ 100 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัด คิดเป็น ร้อยละ 92.2 และ 94.8 ตามลำดับ และพบว่า ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ประเภทการจำหน่าย และภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัดโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่มในทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบผลการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่าง และหลังผ่าตัดในประเด็นย่อย พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้องจะมีการเสียเลือด และการบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียงระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัดมีภาวะเลือดออก และการติดเชื้อแผลผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางหน้าท้อง และทางช่องคลอดที่ไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ควรพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดทางหน้าท้อง 

เอกสารอ้างอิง

พัชรี เรืองเจริญ. (2562). การตัดมดลูกทางหน้าท้อง. (Abdominal hysterectomy). https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6074/

Alamelu, D. N., Bharathi, K. R., Sridhar, D., Vijayalakshmi, S., & BHARATHI, K. (2023). Comparative Study of Vaginal Hysterectomy and Total Abdominal Hysterectomy in Non-descent Uterus in a Rural Tertiary Care Center. Cureus, 15(3): e36017. doi: 10.7759/cureus.36017. eCollection 2023 Mar.PMID: 37050998

Casarin, J., Ghezzi, F., Pinelli, C., Laganà, A. S., Ambrosoli, A., Longo, M., & Cromi, A. (2023). Hysterectomy for Non-Prolapsed Uterus in Elderly Patients: Predictors of Prolonged Hospital Stay. Gynecologic and obstetric investigation, 88(2), 91–97. https://doi.org/10.1159/000528392

Donabedian, A. (1980). Explorations in quality assessment and measurement. Ann Arbor, MI: Health Administration Press.

Harvey, S. V., Pfeiffer, R. M., Landy, R., Wentzensen, N., & Clarke, M. A. (2022). Trends and predictors of hysterectomy prevalence among women in the United States. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 227(4), 611-e1.

Kaya, A. C., Radosa, M. P., Zimmermann, J. S. M., Stotz, L., Findeklee, S., Hamza, A., Sklavounos, P., Takacs, F. Z., Wagenpfeil, G., Radosa, C. G., Solomayer, E. F., & Radosa, J. C. (2021). Intraoperative and postoperative complications of gynecological laparoscopic interventions: incidence and risk factors. Archives of gynecology and obstetrics, 304(5), 1259–1269. https://doi.org/10.1007/s00404-021-06192-7

Pillarisetty, L. S., & Mahdy, H. (2023). Vaginal Hysterectomy. In StatPearls. StatPearls Publishing. PMID: 32119369

Royal College of Obstetricians and Gynaecologists. (2018). Hysterectomy. RCOG Green-top Guideline No. 41. https://www.rcog.org.uk/media/u32b3nkv/ca4-15072010.pdf

Tiwari KD, Dangal G, Karki A, Pradhan HK, Shrestha R, Bhattachan K, Bharati S. (2022). Clinical Outcome of Non-descent Vaginal Hysterectomy Versus Abdominal Hysterectomy. J Nepal Health Res Counc; 20(2): 326-330. doi: 10.33314/jnhrc.v20i02.3924.PMID: 36550708

Whiteman MK, Hillis SD, Jamieson DJ, Morrow B, Podgornik MN, Brett KM, Marchbanks PA. (2008). Inpatient hysterectomy surveillance in the United States, 2000-2004. Am J Obstet Gynecol. 2008; 198:34–37.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง