การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หอผู้ป่วยพิเศษ 5 ศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ภาวดี วงศ์พิพันธ์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง พยาบาลต้องใช้องค์ความรู้ที่เฉพาะให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วยจะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจรูปแบบการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) เปรียบเทียบกรณีศึกษา (case study) จำนวน 2 ราย รายที่ 1 เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566 รายที่ 2 เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2566 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2566ผลการศึกษา กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทยอายุ 66 ปี เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ขาบวม นอนราบไม่ได้ การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น ได้รับการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สรุปอาการการรักษาพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย ผู้ป่วยชายไทย มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ขาบวม นอนราบไม่ได้ ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 3 เส้น หลังผ่าตัด อาการทั่วไปดีขึ้น หัวใจเต้นปกติ  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล 12 วัน กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทย อายุ 70 ปี เจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย การวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ สรุปอาการการรักษาพยาบาลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย ผู้ป่วยชายไทยมีเจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 3 เส้น มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หลังผ่าตัด อาการทั่วไปดีขึ้น หัวใจเต้นปกติ  ภาวะปอดอักเสบดีขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาล 9 วันพบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีประเด็นที่เหมือนกัน คือ อาการแสดง จำนวนเส้นเลือดที่ตีบ มีโรคร่วม แต่มีความแตกต่างกันในด้านอายุ การตั้ง setting เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ การหย่าเครื่องช่วยหายใจ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายสรุป : การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลเป็นผู้ที่มีความสำคัญ ต้องประเมินปัญหาผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกทั้งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายและที่เกิดจากการใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยและกลับบ้านได้เร็ว

เอกสารอ้างอิง

โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. (2566). รายงานสถิติประจำปี 2564-2566. นครศรีธรรมราช : โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.American Heart Association. (2019). AHA statistical update: heart disease and stroke statistics, 2019 Update: A report from the American Heart Association. Retrieved November 25, 2023. from: https://www.ahajournals. org/doi/10.1161

Claes J, Buys R, Budts W, et al. (2017). Longer-term effects of home-based exercise interventions on exercise capacity and physical activity in coronary artery disease patients: A systematic review and meta-analysis. Eur J Preventive Cardiology; 24(3): 244-56. doi: 10.1177/2047487316675823.

Department of Disease Control Ministry of Public Health. (2022). Department of Disease Control joined the campaign for World Heart Day on 29 September 2022. Retrieved November 25, 2023. From https://www.hfocus.org/content/2022/09/26061. (In Thai)

Roffi M, Patrono C, Collet JP, Mueller C, Valgimigli M, Andreotti F, et al. (2015). ESC guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation. Eur Heart J 2016; 37: 267-315.

World Health Organization. (2015). Global atlas on cardiovascular disease prevention and control. Geneva: WHO.

Office of Policy and Strategy. (2017). Ministry of Public Health Public Health Statistics. Retrieved February 2, 2024 Form http://bps.moph.go.th/new_bps/sites /default/ files /health_statistic 255.pdf.

Suwanno, J. (2018). Association of Risk Level and Major Adverse Cardiovascular Events in Patients with Non-ST Elevation Myocardial Infarction. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 29(1), 6-28. (in Thai)

The Heart Association of Thailand. (2020). Thai Acute Coronary Syndromes Guideline 2020. Bang Phli Samut prakan: Next step Design Limited Partnership. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง