การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วมหอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรมชาย 5 โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุชานรี กิ่งรัตน์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วม ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วน, โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด เป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อีกทั้งการสูบบุหรี่ ความเครียด การไม่ออกกำลังกายและภาวะอ้วนลงพุง ก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจเลือดเช่นกัน วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ กลไกการเกิดโรค พยาธิสรีรวิทยา ความรุนแรงของโรคและการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วม แต่ละระยะ ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วม ทั้งสองรายมาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอกมาก หายใจเหนื่อย วินิจฉัยโรคเป็น NSTEMI with Diabetes mellitus, Hypertension, Congestive heart failure, Dyslipidemia ได้รับการรักษาโดยวิธีการฉีดสีสวนหัวใจ และได้รับยา  ผู้ป่วยรายที่ 1 และ ผู้ป่วยรายที่ 2 ควบคุมอาการได้ จำหน่ายกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านและนัดติดตามอาการเป็นระยะ การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST ไม่ยกที่มีโรคร่วมมีความยุ่งยากซับซ้อนมีอาการอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย ซึ่งพยาบาลมีหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผล ให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนการดูแลของ Gordon ในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและด้านจิตวิญญาณ ตามมาตรฐานการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เอกสารอ้างอิง

กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2566) บริการข้อมูล summary/ข้อมูลการตาย. ระบบบริการข้อมูลสถิติชีพประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 ต.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://vitalstat.moph.go.th/

เกรียงไกร เฮงรัศมี. (2566). มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5). นนทบุรี: สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยเครื่องอิเลกโทรนิกชนิดฝังในร่างกาย. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2567, จาก http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/Device Guideline.pdf

Arunsaeng, P. (2015). Cardiovascular Nursing. Khon kaen: Khungnana vithaya Printing Co.Ltd. (in Thai) Diabetes impact on Thailand. (2017).The Diabetes Epidemic and Its Impact on Thailand. Retrieved February 2, 2024 From https://www.changingdiabetes Thailand.com/diabetes-impact.

Division of Non-Communicable Diseases Ministry of Public Health. (2019). Annual Report No1.Bangkok: Aksorn Graphic and design Publishing Printing Co.Ltd. (in Thai)

Harnyoot, O.(2015). Nursing Process and Implications. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 15(3), 137-143. (in Thai)

Hengrasmee, K. (2017). Coronary Heart Disease. Retrieved February 2, 2024 form https://www.hiso.or.th/his/picturereport Health/report.

Jamsomboom, K. (2018). Interpretation of ECG Results and Nursing Care for Patients with Heart Disease. Bangkok: Sukhumvit Printing Co.Ltd.(in Thai)

Korakotkamjon, P. (2020). Knowledge Cardiovascular Risk and Health Behaviors among Patients with Diabetes and Hypertension in Mueang Chiang Rai District. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 31(1), 46-61. (in Thai)

Office of Policy and Strategy. (2017). Ministry of Public Health Public Health Statistics. Retrieved February 2, 2024 Form http://bps.moph.go.th/new_bps/sites /default/ files /health statistic 255.pdf.

Suwanno, J. (2018). Association of Risk Level and Major Adverse Cardiovascular Events in Patients with Non-ST Elevation Myocardial Infarction. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 29(1), 6-28. (in Thai)

The Heart Association of Thailand. (2020). Thai Acute Coronary Syndromes Guideline 2020. Bang Phli Samut prakan: Next step Design Limited Partnership. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง