การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ชิตชนก ถาวรนุรักษ์ โรงพยาบาลระนอง

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ต้อกระจก, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก

บทคัดย่อ

ต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดอันดับหนึ่งของโลก และมีสาเหตุส่วนใหญ่จากต้อกระจกซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการตรวจคัดกรองและรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสมการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วม เปรียบเทียบ จำนวน 2 ราย ในหอหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลระนอง การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากแบบบันทึกทางการพยาบาล แบบบันทึกการทบทวนจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน และการซักประวัติจากญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัด และระยะการวางแผนจำหน่าย ช่วงเดือน มกราคม 2567 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ผลการศึกษา : พบว่าปัญหาของผู้ป่วยที่เหมือนกัน คือ 1) วิตกกังวลเกี่ยวการผ่าตัด 2) เสี่ยงต่อความไม่พร้อมในการผ่าตัด 3) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเดินชนสิ่งของเนื่องจากมีภาวะสายตาเลือนราง 4) ปวดตาเนื่องจากมีแผลผ่าตัด 5) เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อภายในลูกตา 6) เสี่ยงต่อภาวะ Hyperglycemia, Hypoglycemia 7) ผู้ป่วยและผู้ดูแลขาดทักษะในการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้านสำหรับปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน กรณีที่ 1 คือ 1) เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากใช้เวลาในการผ่าตัดนาน 40 นาที หลังเปิดตามีเยื่อบุตาแดงเล็กน้อยต้องใช้ยาหยอดตา ส่วนกรณีที่ 2 ไม่มีปัญหาใช้เวลาในการผ่าตัดนาน 20 นาที หลังเปิดตาไม่พบอาการผิดปกติ สรุปผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกมีภาวะแทรกซ้อนและสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการประเมิน การวินิจฉัยภาวะเสี่ยงตั้งแต่แรกรับ ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่ถูกต้อง เหมาะสม ควบคู่กับการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

จิรดา มณีพงษ์. (2563). กรณีศึกษา: การพยาบาลองค์รวมในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(2): 13.

จักรี หิรัญแพทย์. (2557).Lens and Cataract .สืบค้นจาก https://www.scribd.com/document/22143465/Lens-and-Cataract

ณวัฒน์ วัฒนชัย. (2559). ต้อกระจก. ใน: ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย, บรรณาธิการ. ตาดีได้ตาร้ายไม่เสีย. กรุงเทพฯ: SuperPixel, 100-2.

เปี่ยมศรี คำทวี. (2565). การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกที่มีความเสี่ยงสูงโรงพยาบาลยโสธร: กรณีศึกษา 2 ราย. ยโสธรเวชสาร, 24(1), 125-132.

พรศิริ พันธสี.(2555).กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ : การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์อักษร จำกัด.

เพียงใจ บุญมาดี. (2566). ผลของการให้ความรู้ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดโรคต้อกระจก. วารสารโรงพยาบาลกลาง. 38 (1): 27-35.

ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย. (2557) จักษุจุฬา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ลักษณาพร กรุงไกรเพชร. (2561). ต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวาน. บูรพาเวชสาร,95-103.

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลระนอง(2562-2565) รายงานผู้ป่วยต้อกระจก. ระนอง. ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลระนอง

สมสงวน อัษญคุณ และคณะ. (2566). โรคตาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : วิทอินดีไซน์.

สุภรัตน์ จริยโกศล. (2561). การป้องกันภาวะผิดปกติทางตา. ใน วิศนี ตันติเสวี, สุภรัตน์ จริยโกศล, วรรณกรณ์

พฤกษากร, สุภณัฐ อภิญญาวสีสุข, และปัจฉิมา จันทเรนทร์, บรรณาธิการ. ตำราจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 552-70.

เสาวนิตย์ กมลวิทย์ และปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง.วารสารกองการพยาบาล, 23-40.

อยุทธินี สิงหโกวินท์. (2564). โรคเบาหวานกับการผ่าตัด. สืบค้นจาก https://www.phyathai.com/article_detail/3564/th/โรคเบาหวานกับการผ่าตัด

Chung J, Kim MY, Kim HS, et al. (2002). Effect of cataract surgery on the progression of diabetic retinopathy. J Cataract Refract Surg 2002, 28, 626-30.

Gordon M. (1991). Nurseing diagnosis: Process and application. New York: McGraw-Hill.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง