ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดระยะ 2 ชั่วโมงแรก ในมารดาคลอดปกติต่อความรู้ และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุชาดา ไชยรัตน์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง

คำสำคัญ:

แนวทางเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดระยะ 2 ชั่วโมงแรก, มารดาคลอดปกติ, การตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะการใช้แนวทางเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอดระยะ 2 ชั่วโมงแรก ในมารดาคลอดปกติต่อความรู้ และทักษะของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง จำนวน 10 คน โปรแกรมประกอบด้วยการให้ความรู้การใช้แนวทางการเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด และทักษะการใช้แนวทางการเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด โดยให้กิจกรรมรายบุคคล คนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โปรแกรมและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้และแบบประเมินทักษะ ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ .75, .71 และ .80 ตามลำดับ ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือกับพยาบาลวิชาชีพที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน แบบประเมินความรู้คำนวณโดยใช้การทดสอบ KR-20 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .81 ส่วนแบบประเมินทักษะคำนวณโดยใช้ Interrater reliability ได้ค่าความตรง เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Wilcoxon Matched-pair Signed rank Test ผลการศึกษาพบว่าก่อนได้รับการพัฒนาตามโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 16.00, S.D. = .471) และทักษะอยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 7.50, S.D. = 1.958) ส่วนหลังได้รับการพัฒนาตามโปรแกรม ความรู้อยู่ในระดับดี (x̄= 20.00, S.D. = .000) และทักษะอยู่ในระดับดี (x̄= 10.00, S.D. = .000) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และทักษะก่อนและหลังได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมพบว่าความรู้และทักษะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นั่นคือความรู้และทักษะหลังได้รับการพัฒนาสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับพยาบาลวิชาชีพที่จบใหม่และปฏิบัติงานห้องคลอดเพื่อให้มีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย. (2565). สถิติสาธารณสุขอัตราส่วนการตายมารดา. กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). วิเคราะห์สถานการณ์ตัวชี้วัดที่ 1.1. Retrieved from https://hpci.anamai.moph.go.th/kpr/kpr2566/report66/1.1/

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ.(2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 146-157.

ทิพย์ภาภรณ์ แย้มใส, นวลวรรณ ปู่วัง, และอรพิมพ์ อุปชา.(2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการปฏิบัติการพยาบาล ในระยะคลอดงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 111-126.

วรนุช บุญสอน.(2566). การพัฒนาแนวทางการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะ 2 ชั่วโมงแรก หลังคลอด. Journal of environmental and community health, 8 (2), 205-211.

ศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง. (2566). ข้อมูลคุณภาพประจำปี2566. นครศรีธรรมราช: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง.

สุทธิพร พรมจันทร์, น้องขวัญ สมุทรจักร, และ จรรยา แก้วใจบุญ. (2564). ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือด 2 ชั่วโมงหลังคลอด. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 22( 2), 69-81.

American College of Nurse-Midwives. (2011). Standards for the Practice of Midwifery. Silver Spring, MD: American College of Nurse-Midwives.

Best, J.W. (1981). Research in education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey:Prentice. Hall Inc.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of studentlearning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

McClelland, D. C (1999). Identifying competencies with behavioral-event interviews. Retrieved from www.eiconsortium.org/research/business_case_forei.htm.

Murray, S. S. & McKinney, E. S. (2014). Pain management during childbirth. In Foundation of Maternal-Newborn and Women’s Health Nursing. 6th ed., (pp. 278-282). United States of America: Saunders Elsevier.

Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guidelines Program. (2012). Primary postpartum hemorrhage. Queensland Maternity and Neonatal ClinicalGuideline. Retrieved from www.health.qld.gov.au/qcg.

Visaggi, C. & Young, J. (2020). Experiential Learning Theory. Senior Faculty Associates for Signature Experiences. Retrieved from https://myexperience.gsu.edu/faculty/resources/theory/

World Health Organization. (2023). Maternal mortality. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/maternal-mortality.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17

วิธีการอ้างอิง