การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลด้านคลินิก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนาด้วง
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล, การนิเทศด้านคลินิกบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลด้านคลินิก ในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนาด้วง กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ หัวหน้างานและหัวหน้าเวรแผนกผู้ป่วยนอก อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ห้องคลอด และหอผู้ป่วยใน ทั้งหมด 15 คน ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม 2561 ถึงพฤษภาคม 2562 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากรายงานอุบัติการณ์ทางคลินิก ความรู้และทัศนคติของผู้ร่วมวิจัย ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต ดำเนินการตามกรอบแนวคิดของ Kemmis & McTaggart (1991) ทั้งหมด 2 วงรอบ ๆละ 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติตามแผน 3) การสังเกตการณ์ 4) การสะท้อนคิด จนกว่าจะบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมาย
ผลการวิจัยวงรอบที่ 1 (สิงหาคม – ธันวาคม 2561) พบ 1) อุบัติการณ์ด้านคลินิก ปีงบประมาณ 2559และ 2560 กลุ่มอุบัติการณ์ระดับกลาง เท่ากับ 11 และ 9 อุบัติการณ์ ตามลำดับ กลุ่มอุบัติการณ์ระดับสูง เท่ากับ 3 และ 3 อุบัติการณ์ ตามลำดับ 2) ผู้ร่วมวิจัยส่วนมากมีความรู้เรื่องการนิเทศ มีเพียงความรู้ด้านความหมาย การให้ความสำคัญของผู้ชำนาญกว่า เทคนิคการนิเทศเท่านั้นที่อยู่ในระดับต่ำ มีทัศนคติที่ดีในเรื่องประโยชน์และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร มีเพียงความเข้าใจว่าการนิเทศเป็นการสิ้นเปลืองเวลา และการนิเทศไม่แตกต่างจากการบริหารทางการพยาบาลเท่านั้นที่อยู่ในระดับสูง 3) ขาดรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจน นำไปสู่การให้ความรู้และนำเสนอรูปแบบการนิเทศ ซึ่งผู้ร่วมวิจัยเลือกรูปแบบการนิเทศตามอักษร TGROW (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2561) ผลการนิเทศหลังจากครบ 1 วงรอบ พบ กลุ่มอุบัติการณ์ระดับกลางลดลงเป็น 3 และระดับสูงลดลงเป็น 1 อุบัติการณ์ ซึ่งมีการสะท้อนคิด พบว่าผู้นิเทศในหอผู้ป่วยยังขาดความรู้ความชำนาญด้านโรคสำคัญและการใช้เครื่องมือแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องอาศัยผู้ชำนาญจากแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินมาเป็นผู้นิเทศ วงรอบที่ 2 (มกราคม 2561- เมษายน 2562) ใช้แผนการนิเทศโดยผู้ชำนาญจากแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินเป็นผู้นิเทศในหอผู้ป่วย ผลการนิเทศหลังครบ 2 วงรอบ พบ อุบัติการณ์ระดับกลางลดลงจาก 3 เป็น 0 และระดับสูงลดลงจาก 1 เป็น 0 อุบัติการณ์ โรงพยาบาลได้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลด้านคลินิก TGROW เป็นกรอบในการสร้างการเรียนรู้ ผู้ร่วมวิจัยส่วนมากมีความรู้ด้านความหมายและเทคนิคการนิเทศเพิ่มขึ้น มีทัศนคติดีขึ้นในด้านความเห็นว่าสิ้นเปลืองเวลาและความเห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกับการบริหารทางการพยาบาล ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลดังกล่าวไปใช้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข สำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล.
Cummins A. (2009). Clinical Supervision; the way forword? A review of literature. Nurse Educ Pract, 9(3):215-20.
กระทรวงสาธารณสุข สำนักการพยาบาล. (2553). เกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล.
รัชนี อยุ่ศิริ, [บรรณาธิการ]. (2551). การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์, [บรรณาธิการ]. (2554). การบริหารการพยาบาล. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.
ประนต จิรัฐติกาล. (2547). ผลของการใช้การนิเทศงานโดยการสอนแนะของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Nursing and Midwifery Board of Australia Supervision Guideline for Nursing and Midwifery. [online]. Available from: https://www.nursingmidwiferyboard.gov.au. [cited 2017 Jun 23]
วิภาพร วรหาญ, [และคณะ]. (2552). การบริหารการพยาบาล. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
Stifler MA. (2006). Performance: Creating the performance- driven organization. Hoboken, N.J.: Wiley.
โรงพยาบาลนาด้วง. (2561). ข้อมูลรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล. จังหวัดเลย : กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนาด้วง.
โรงพยาบาลนาด้วง. (2561). ข้อมูลการวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล. (2561).จังหวัดเลย : กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนาด้วง.
พัฒนา พึ่งศิริ. (2554). มุมมองของพยาบาลตรวจการใหม่ต่อการนิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน. พุทธชินราชเวชสาร, 28(2):178-83.
มัณฑนา รุ่งสาย. (2545). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการพยาบาลของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นุชรี ขุมพินิจ และสุทธีพร มูลศาสตร์. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(2):77-89.
Kemmis SR. & McTaggart. (1991). Action and Knowledge: Breaking the Monopoly with Participatory Action- Research. New York: Apex Press.
รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์, รัชตวรรณ ศรีตระกูล, สมปรารถนา ดาผา, อนุสรณ์ ช้างมิ่ง, ปิยวะดี ลีฬหะบำรุง, อมรรัตน์ นาคละมัย. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลในการบริหารยาความเสี่ยงสูง โดยการมีส่วนร่วมของพยาบาลผู้นิเทศทุกระดับ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1):234-43.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.