การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งไตผ่านกล้อง

ผู้แต่ง

  • วรรณู เอื้อเปรมจิต โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

มะเร็งไต, การผ่าตัดไตออกผ่านกล้อง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษากรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดมะเร็งไตผ่านกล้องในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผลการพยาบาล เพื่อทำให้การปฏิบัติงานของพยาบาลเป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยได้รับบริการพยาบาลที่มีคุณภาพเหมาะสมกับปัญหา โดยศึกษาใน ผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 68 ปี มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชัยภูมิด้วยอาการปวดท้องด้านซ้าย ปัสสาวะเป็นเลือด แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งไตซ้าย (Renal cell carcinoma left) แพทย์วางแผนการรักษา โดยการผ่าตัดนำไตออกผ่านกล้อง (Laparoscopic Radical Nephrectomy) พยาบาลห้องผ่าตัดเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดที่หอผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะโรคของตนเองและกลัวการผ่าตัด พยาบาลห้องผ่าตัดได้ให้ความรู้ เตรียมความพร้อมในการผ่าตัด เพื่อลดความวิตกกังวล และประเมินอาการซ้ำที่จุด Pre-op ในเช้าวันผ่าตัดและให้การพยาบาลผู้ป่วยทั้งก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด ติดตามเยี่ยมประเมินสภาพและให้การพยาบาลที่หอผู้ป่วยตลอดจนการให้ความรู้และแนะนำเกี่ยวกับแหล่งประโยชน์เมื่อผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายกลับบ้าน การศึกษากรณีศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้แนวคิดของกระบวนการพยาบาลจัดลำดับกิจกรรมที่สัมพันธ์เชื่อมโยงในแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบส่งผลให้ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดมะเร็งไตผ่านกล้อง (Laparoscopic Radical Nephrectomy ) ได้รับบริการพยาบาลผ่าตัดที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

เอกสารอ้างอิง

วิโรจน์ เฉลียวปัญญาวงศ์, วรพัฒน์ อัตเวทยานนท์ และ ชูศักดิ์ ปริพัฒน. (2559). การรักษาก้อนขนาดเล็กที่ไต.สงขลานครินทร์เวชสาร, 34(3):141-51.

นงเยาว์ สมพิศยานุรักษ์. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

Berger A, Brandina R, Atalla MA, Herati AS, Kamoi K, Aron M, [et al]. (2009). Laparoscopic Radical Nephrectomy for Renal Cell Cacinoma: Oncological Outcomes at 10 yearsor More. J Urol, 182(5):2172-6.

ประสาน เปรมะสกุล. คู่มือแปลผลตรวจเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์, 2553.

ชวนพิศ วงศ์สามัญ. (2556). การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 19. ขอนแก่น: ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. (2554). แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี; โครงการสวัสดิการสถาบันพระบรมราชชนก.

พิษณุ มหาวงศ์ และ สุริธร สุนทรพันธ์ [บรรณาธิการ]. (2558). โรคที่พบบ่อยในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. เชียงใหม่ : หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-24